การพิมพ์สีธรรมชาติจากใบเพกาด้วยเทคนิคการถ่ายโอนสีสู่ผ้าฝ้าย

Main Article Content

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์
สุจาริณี สังข์วรรณะ
ภัทรภร พุฒพันธ์
ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์
ณรัช พรนิธิบุญ
ธนัง ชาญกิจชัญโญ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวิธีการพิมพ์สีธรรมชาติที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สารที่ช่วยกระตุ้นเม็ดสี (เฟอร์รัสซัลเฟต กรดอะซิติก แคลเชียมไฮดรอกไซด์) และระยะเวลา (30 45 60 นาที) ผลการศึกษาพบว่า การผสมน้ำด้วยเฟอร์รัสซัลเฟตที่ 0.2 กรัมต่อลิตร ระยะเวลา 45 นาที สามารถให้สีเหลืองเข้มและความคมชัดของใบเพกาได้ดีที่สุดกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้เมื่อนำไปประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการวางลวดลาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน มีความพึงพอใจต่อการวางลวดลายทั้ง 3 แบบ อยู่ในระดับมาก โดยการวางลวดลายในแบบที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นแบบที่ 3 และ 2 ตามลำดับ การพิมพ์ผ้าด้วยเทคนิคที่เป็นธรรมชาติสามารถทำให้สีใบเพกามีความชัดเจน และมีลวดลายทันสมัย โดยสามารถดึงสีสันจากสีใบเพกาให้มีสีเหลืองเข้ม ลวดลายมีความคมและประณีตของเส้นใบ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดโดยการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และของตกแต่งบ้านจากผ้า ตลอดจนเป็นการส่งเสริมธุรกิจครัวเรือนและชุมชนได้อีกทางหนึ่ง 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา งามพิพัฒน์. (2561). การออกแบบลวดลายเทคนิคการมัดย้อม และย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และสร้างสรรค์, 6(1), 246-265.

ธัญลักษณ์ ธนิกกุล, สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต, และปริญดา เพ็ญโรจ. (2558). สภาวะการสกัดต่อสมบัติสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบบัวหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 34-42.

ประกิต ไชยธาดา. (2562). ผลของตัวทำละลายและความเป็นกรด-ด่าง ต่อปริมาณและความคงตัวของสารสีที่สกัดได้จากพืช. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 38(1), 65-68.

ประภากร สุคนธมณี. (2560). สีสันจากพันธุ์พฤกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร,47(3), 183-202.

พรพิมล ม่วงไทย, และคณะ. (2553). การเตรียมผงสียอมจากเปลือกผลมังคุดบนสารดูดซับ.การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7, (1975-1984). จังหวัดนครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

พรเพ็ญ โชชัย, ระมัด โชชัย, และเมทินี ทวีผล. (2550). การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ของชุมชนในเขตตำบลนาบ่คำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสักทอง, 14(2), 26-45.

ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์, พริยะ แก่นทับทิม, และประเทืองทิพย์ ปานบํารุง. (2557). การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้ามัดย้อมด้วยการย้อมจากสีธรรมชาติ. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 9(1), 81-89.

วันเช็ง สิทธิกิจโยธิน. (2557). การเตรียมแป้งพิมพ์ด้วยสารข้นจากกัมเมล็ดพืชสำหรับการพิมพ์ผ้าไหมด้วยสีจากเปลือกมังคุด. ภาควิชาเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดิศักดิ์ จิตภูษา. (2560). การหาสภาวะที่เหมาะสมของระยะเวลาและอัตราส่วนของสารผนึกสี ในการย้อมสีผ้าฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยกาแฟสำเร็จรูป. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 5(2), 136-145.

Akinjogunla, O.J., A.A. Adegoke, I.P. Udokang and B. C. Adebayo- Tayo. (2009). Antimicrobial potential of Nymphaea lotus (Nymphaeaceae) against wound pathogens. Journal Medicinal Plants Research, 3(3), 138- 141.

Al Sarhan, T.M., Salem, A.A., (2018). Turmeric dyeing and chitosan/titanium dioxide nanoparticle colloid finishing of cotton fabric. Indian Journal of Fibre & Textile Research, 43(4), 464-473.

Jewkrang, T., Buddhakala, N., (2019). Effects of Nelumbo nucifera Flower Extracton GK/Jcl Rats. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 38(6), 572-578

Karolia, A., Khaitan, U., (2012). Antibacterial properties of natural dyes on cotton fabrics. Research Journal of Textile and Apparel, 16 (2), 53-61.

Liman, M.L.R., Islam, M.T., Hossain, M.M., Sarker, P, (2020). Sustainable dyeing mechanism of polyester with natural dye extracted from watermelon and their UV protective characteristics. Fibers and Polymers, 21(10), 2301-2313.

Dulal, H., Fazla, R., Abu, Abdullah A, (2021). Effect of turmeric dye and biomordants on knitted cotton fabric coloration: A promising alternative to metallic mordanting. Cleaner Engineering and Technology, 3(2021), 100-124.

Mehta, N.R., E.P., Patel, P.V., Patani and B. Shah. (2013). Nelumbo nucifera (Lotus): A review on ethanobotany, phytochemistry and pharmacology. Indian Journal of Pharmaceutical and Biological Research, 1(4), 152–167.

Subzar, A.S. (2014). Ethno-medicinal use and pharmacological activities of lotus (Nelumbo nucifera). Journal of Medicinal Plants Studies, 2(6), 42-46.