การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยใช้ภาษา PHP, HTML, CSS และ JavaScript ร่วมกับ Bootstrap Framework เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบในส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเว็บไซต์ (User Interface) รองรับการแสดงผลผ่านหน้าจอทุกอุปกรณ์ และ MySQL เป็นส่วนของการจัดการฐานข้อมูล 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ศูนย์วิทยาศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ พัฒนาระบบได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถนำมาระบบมาใช้ในการจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ตรวจสอบผลการตรวจวิเคราะห์ และพิมพ์รายงานสรุป 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบจัดการข้อมูลบริการรับตรวจวิเคราะห์ศูนย์วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.61
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กมลมาศ วงษ์ใหญ่, และมัชฌกานต์ เผ่าสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 18-28.
น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2558). หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Fundamentals of Software Engineering). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปานใจ ธารทัศนวงศ์. (2565). Fundamental of Software Engineering and Digital Transformation. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
ภิราภรณ์ บุตรซอ, อรยา อินต๊ะขิล, เนตรดาว โทธรัตน์, และพิมาย วงค์ทา. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 43-53.
โลมไสล วงค์จันตา, วสุ บำรุงชัยชนะ, กิตติชัช จันทร, ปาริชาติ กัญญาบุญ, และวิชญาดา วุฒิอดิเรก. (2564). การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการทดสอบทางห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 3 นครสวรรค์ ด้วยระบบรายงานผลวิเคราะห์ออนไลน์. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(1), 13-27.
วราพร กรีเทพ, ธนาวุฒิ ชัยชนะ, และมณีรัตน์ ฤทธิ์สิงห์. (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านอิเล็กทรอนิกส์เซอร์วิส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 5(2), 1-19.
สุชาดา เกิดโพธิ์ชา, ศศิมา ธนภัทร์พิบูล, และธีรดนย์ บุญค้า. (2562). การพัฒนาระบบบริหารงานร้านซ่อมคอมพิวเตอร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม.
สุธีรา พึ่งสวัสดิ์, และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยในโครงการการเรียนรู้ร่วมกันแบบสหวิชาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 4(2), 7-19.
หยาดฝน ทับทิมหิน, อาพัทธ์ เตียวตระกูล, และทัศนา จารุชาต. (2565). การจัดการฐานข้อมูลสุขภาพด้วยการพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 10(2), 1-27.
อารีรัตน์ ชูพันธ์, และเสาวคนธ์ ชูบัว (2565) การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนมอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”, 8(1), 19-30.
อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) (ฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: ไอดีซี.
อรัญ ทนันขัติ, และชมไฉไล สินธุสาร. (2563). พัฒนากระบวนการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขตาม มาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 55(4), 197-213.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Best, John W. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, NJ. Prentice Hall.