การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) ผลการพัฒนาสถานศึกษาตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3) ผลการพัฒนาคุณภาพเด็กระดับปฐมวัยตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประชากรประกอบด้วยครูจำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 225 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในรายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับการพัฒนาระหว่าง 3.89-4.56 คิดเป็นร้อยละการพัฒนา 77.78-91.11 เฉลี่ยร้อยละ 84.45 ดังนั้นสถานศึกษาได้รับการพัฒนาตามแนวคิดโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาดำเนินการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในภาพรวมสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองต่อโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในภาพรวม รายด้านและรายข้อ พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจระหว่าง 4.47-4.65 คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจ 89.44-92.94 เฉลี่ยร้อยละ 91.19 ดังนั้นครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในภาพรวม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. ผลการพัฒนาคุณภาพเด็กระดับปฐมวัยตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวม รายตัวบ่งชี้ และรายข้อ พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับการพัฒนาระหว่าง 4.33-4.55 คิดเป็นร้อยละ 86.60-91.00 เฉลี่ยร้อยละ 88.80 ดังนั้นเด็กระดับชั้นปฐมวัยได้รับการพัฒนาตามแนวคิดโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดำเนินการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในภาพรวมสูงขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพมหานคร: สยามสปอรต์ ซินดิเค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.kanpeo.go.th/home/กฎกระทรวง-การประกันคุณภ/
ปิยมาศ ฉายชูวงษ์. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนบ้านประดู่งาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
สุวรรณ บรรจง. (2558). การประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคาร โดย CIPP MODEL. ใน วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุวรรณี ทุ่มแห่ว. (2562). รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน สํากัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลําภู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 8(2), 192-204.
Tyler, Ralph W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago press