การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานส าหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

นิติธาร ชูทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ขั้นพื้นฐานโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานส าหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิธีด าเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) พัฒนารูปแบบ การเรียนการสอน 2) สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 29 คน และควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t–test) ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. รูปแบบการการเรียนสอนที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้สารสนเทศของนักศึกษา กระบวนการเรียนการสอนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ (Face to Face Learning) ซึ่งใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือรูปแบบจิกซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบชี้แนะ และ 2) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการการเรียนสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักศึกษาทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้สารสนเทศหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการรู้สารสนเทศหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพร ศรีพรรณ์. การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานทักษะการรสู้ารสนเทศส าหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลยัเชียงใหม่, 2553. กิตติศักดิ์ เสมาธรรมานนท์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน บนพื้นฐานแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรัคติวิสซึม ส าหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานพินธป์รัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2559. นิลวรรณ วานิชสุขสมบัติ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ส าหรับผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. วิทยานพินธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. ประยูร บุญใช้. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาของ นักศึกษาในสถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. มนต์ชัย เทียนทอง. “Blended Learning: การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่ 1),” วารสารวิชาการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 1, 2 (2549): 48-57. สุคนธ์ สนิธพานนท์ และคณะ. การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ. พิมพ์ครั้งท ี่2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2545. Bonk, C. J. and C. R. Graham. The Handbook of Blended Learning: Global Perspectives, Local Designs. San Francisco, CA: Pfeiffer, 2006.