ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน : พหุกรณีศึกษา

Main Article Content

ชำนาญ คำปัญโญสีโนทัย
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของลักษณะและเงื่อนไขการเกิดภาวะผู้น า การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษาแบบเจาะจง 3 ประเภท ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไป โรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลาง และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝัน ผู้วิจัยศึกษาและเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยตนเอง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนา กลุ่มย่อยโดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรหลักในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงของข้อมูล จากแหล่งและชนิดของข้อมูลรวมทั้งความถูกต้อง ที่เชื่อถือได้ ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยสรปุได้ดงันี้ 1. คุณลักษณะภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วย 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ มีความคิดก้าวไกล มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรู้และทักษะ มีความสามารถพิเศษ มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มีพฤติกรรมเป็นนักพัฒนาแบบประชาธิปไตย มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ มีความชัดเจนในเปูาประสงค์ พันธกิจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ ยอมรับนับถือ 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น จริงใจ มีคุณธรรมจริยธรรม โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่น มีผลงานเชิงประจักษ ์มีการพัฒนาตนเอง เปลี่ยนวิกฤตเปน็โอกาส สร้างความคาดหวัง สร้างความท้าทาย คิดในแง่บวก สร้างเจตคติที่ดี ส่งเสริมความสามารถ สร้างความศรัทธา ร่วมสร้างภาพอนาคต ส่งเสริมผลงานที่เป็นเลิศ พัฒนางานใหม่ๆ สร้างทีมงาน จุดประกายความคิด 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนา ยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม พัฒนาระบบการคิด พัฒนาทักษะกระบวนการใหม่ๆ สนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา เน้นประสิทธิภาพของงาน ปลุกระดมจินตนาการ 4) ด้านการค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เน้นพัฒนาศักยภาพคน เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา เปิดโอกาสการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสผู้มี ความสามารถ สนับสนุนความเจริญก้าวหน้า พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 2. เงื่อนไขการเกิดภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วย 1) ด้านพระราชบัญญัติการศึกษา พบว่า โรงเรียนต้องจัดระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับการปฏิรูป การศึกษา เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นส าคัญ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 2) นโยบายการศึกษา พบว่า โรงเรียนต้องถือนโยบายการศึกษาของกระทรวง ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาโรงเรียน ให้เป็นไปตามนโยบายและเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐาน คุณภาพของโรงเรียน ในฝัน 3) มาตรฐานและคุณภาพด้านการศึกษา พบว่า โรงเรียนจะมีคุณภาพต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตาม มาตรฐานคุณภาพการศึกษา 4) มาตรฐานและคุณภาพโรงเรียนในฝัน พบว่า การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ในฝัน จะต้องบริหารให้ได้ตามมาตรฐานที่ก าหนดจึงจะผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนในฝัน 5) การเปลี่ยนแปลง ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ พบว่า เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 6) ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ พบว่า การใช้ศาสตร์และศิลป์ ที่หลากหลายสามารถพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญา โพธิวฒัน์. ทีมผู้น าการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษา : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วิทยานพินธ์ศึกษาศาสตรดษุฎีบณัฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548. กระทรวงศึกษาธิการ. โครงการ 1 อ าเภอ 1 โรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2546. ช านาญ ค าปัญโญสีโนทัย. “ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน : พหุกรณีศึกษา,” วิทยานพินธ์ศึกษาศาสตรดษุฎีบณัฑิต สาขาวิชาภาวะผนู้ าทางการบริหารการศึกษา : วารสาร บริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 2559. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก. การปฏิรูประบบการศึกษาไทยปจัจุบัน. เข้าถึงได้จาก http://cgsc.rta.mith/cgsc/index.php?option=co. 2554. บุญชม ศรีสะอาด และสุรีทอง ศรีสะอาด. วิจัยเกี่ยวการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุรีริยาสาส์น, 2552. B. M. Bass. Transformational Leadership : Industrial , Military, and Educational Impact. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates, 1998. Bennis, W. and Nanus, B. Leaders : Strategies for Taking Change. New York : Harper Collins, 1997. Wagner, E. Communities of Practice : Learning, Meaning, and Identity. Cambridge, U.K. : Cambridge University, 2004.