การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิด สมองเป็นฐานและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ (3) เปรียบเทียบความพร้อม ทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ชัน และโรงเรียนบ้านกุดแข้โนนโพธิ์วิทยา อ าเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จ านวน 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวคิดไฮสโคป จ านวนแบบละ 20 แผน ๆ ละ 45 นาที (2) แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.23–0.68 ค่าอ านาจจ าแนก (r) ตั้งแต่ 0.31–0.74 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.84 (3) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ จ านวน 15 ข้อ มีค่าอ านาจจ าแนก (r) ตั้งแต่ 0.36-0.71 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.86 และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ F-Test (One-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.10/86.00 และ 90.66/82.66 สูงกว่า เกณฑ์ที่ก าหนด ตามล าดับ 2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6718 และ 0.6133 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 67.18 และ 61.33 ตามล าดับ 3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ หลังเรียนไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
160 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
154
ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ. การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร ์ส าหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีท ี่2 โดยใช้ กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope). การค้นคว้าแบบอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลยัมหาสารคาม, 2552. โสภา แสนลือชา. การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และความ ฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจดัประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวทิยาลัยมหาสารคาม, 2556. ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. สรุปผลการประเมินคุณลักษณะอนัพึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนนางาม. ร้อยเอ็ด : ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด, 2557. ส านักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. นโยบายและแผนการศึกษาส าหรับปฐมวัย (0-5 ปี). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค, 2539. Caine, Renate Nummela ; Geoffre Caine ; Carol McClintic; and Karl J. Klimek. 12 Brain/Mind Learning Principles in Action : Developing Executive Functions of Human Brain. 2nded., Thousand Oaks, CA : Corwin, 2009. Jackson, Keenya M. A Comparison of the High Scope Curriculum and Alternative Curricula Used to Prepare Pre-Kindergarten Students for Kindergarten. Dissertation for the Doctor of Education, Walden University, 2009. Shiller, Pam and Willis, Clarissa A. “Using Brain – Based Teaching Strategies to Create Supportive Early Childhood Environments that Address Learning Standards,” YC Young Children. 63,4(July 2008) : 52–55. Thomas, Loren D. A Case Study: The High/Scope Preschool Curriculum and Kindergarten Readiness in the Pittsgrove Township School District. Dissertation for the Doctor of Education, Seton Hall University, 2010.