การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสถานศึกษา สังกัดส านกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4

Main Article Content

นัยนา เมฆแดง
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
เจียร ทองนุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตาม แนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การก าหนดกรอบแนวคิด เพื่อพัฒนารูปแบบ การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในสถานศึกษา โดยสอบถาม ผู้บริหารสถานศึกษา 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์เน้ือหา 4) การตรวจสอบด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสถานศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ และการสนทนากลุ่มผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นผู้บริหาร สถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 หลักคิดพื้นฐาน (Basic Idea) ในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 1) การบริหารตามข้อมูลในการด าเนินงาน 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) การบริหาร แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการบริหารงานที่มุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการบริหารที่เน้นการกระจายอ านาจและความรับผิดชอบส่วนที่ 2 สร้างความคิดรวบยอด (Building Concept) ของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ให้กับบุคลากรในองค์กร ประกอบด้วย 1) แนวคิดหลักการของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ลักษณะของ องค์การที่บริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3) ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4) เงื่อนไขความส าเร็จ ของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 5) การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ส่วนที่ 3 โครงสร้างการบริหารจัดการ (Management Structure ) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ผู้อ านวยการสถานศึกษา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ฝุายสนับสนุน ส่วนที่ 4 การน าไป ปฏิบัติ (Implementation) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ของสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นเปูาหมายในการด าเนินงานในสถานศึกษา 2) จัดท าโครงการ 3) ด าเนินการโครงการและการน าโครงการ ไปสู่การปฏิบัติ 2. ผลการตรวจสอบรูปแบบ มีมาตรฐานด้าน 1) มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ 2) มาตรฐาน ด้านความเป็นไปได้ 3) มาตรฐานด้านความเหมาะสม 4) มาตรฐานด้านความถูกต้องในทุกส่วนของรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้น
 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส านักงาน. แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ ากัด2553. เจียร ทองนุ่น. รูปแบบการบรหิารเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของ โรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช, 2555. ทศพร ศิริสัมพันธ์. การบริหารผลการด าเนินงาน (Performance Management) รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย, 2543. มังกร หริรักษ์. “รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษาสังกัดสา นักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา,” วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรฉบับพิเศษ. โครงการเผยแพร่งานวจิัย ประจ าปี 2556, 2555. ยงยุทธ ทรัพย์เจริญ. การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลยัพายัพ, 2555. วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. เทคนิคการบริหารส าหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย, 2555. สุเทพ เชาวลติ. การบริหารจดัการภาครัฐสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์เสมาธรรม, 2555. Bodilly S. New American School Concept of Break the Mold Designs : How Designs. New York : McGraw-Hill, 2001. Knutel, Phillip Gerard. Adoption of an Innovation : the Process Through Which Faculty Decide Whether of use Instructional Technology. Ph.D. Dissertation, The University of Michigan Dissertation Abstracts International, 1999. Williams, Richard S. Performance Management : Perspectives on Employee Performance. London : International Thomson Business, 1998.