การศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษา 2) ประเมิน รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษา กลุ่มเปูาหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่ม การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา 2. กลุ่มหลักสูตรและการสอน 3. กลุ่มการวัด และการประเมินผล ร่วมทั้งสิ้น จ านวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับ การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหารายวิชา และคลิปวีดิทัศน์ 2) ระบบบริหารการเรียน (LMS) 3) การสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และ 4) ด้านการวัด ผลการเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การน าเข้าสู่บทเรียน 2) เงื่อนไข ในการเรียน 3) การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และ 4) แรงจูงใจในการเรียน 2. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชานวัตกรรมการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. “การออกแบบการเรียนการสอนดว้ยระบบ e-Learning,” วารสารทางวิชาการ. 12,1 (กรกฎาคม - กันยายน 2558) : 23-24. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรยีนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์, 2555. อนล สวนประดิษฐ์. การออกแบบและ พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตโดยใช้ เทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ ทุนวิจัยสถาบนัวิจัยเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลยัราชภัฏบุรีรัมย์, 2558. Bergman, J. and Sams, A. Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. International Society for Technology in Education, 2012. Daniel John Kennedy. “Virtual Learning Environments (VLEs): Here to Stay, or on the Brink of Demise?,” The Plymouth Student Educator. 1,1(January 2009) : 58-66. David Savage. “Owners of Learning: The Nyae Nyae Village Schools Over Twenty- five Years,” Basler Afrika Bibliographie. 18 (April 2016) : 247-248. Erik M. van Raaij, JeroenJ. L. Schepers. The Acceptance and use of a Virtual Learning Environment in China. Vienna : Elsevier, 2008. Jacob, F. Sherson. Virtual Learning Environment for Interactive Engagement with Advanced Quantum Mechanics. New York : McGraw-Hill, 2016. Maggie Leese. Out of Class-out of Mind? The use of a Virtual Learning Environment to Encourage Student Engagement in out of Class Activities. New York : McGraw-Hill, 2008. Marlowe. .Use of Synchronous Virtual Classrooms: Why, Who, and How?. MERLOT,” Journal of Online Learning and Teaching. 10,2(March 2012) : 13-14. Masterman, Liz. The Challenge of Teachers' Design Practice. Oxford : Routledge, 2013. Strayer. The Effects of the Classroom Flip on the Learning Environment: a Comparison of Learning Activity in a Traditional Classroom and a Flip Classroom that used an Intelligent Tutoring System. Ohio : Ohio Department of Higher Education, 2007. Sunchai Pattanasith, Nattaphon Rampai, Jongkol Kanperm. The Development Model of Learning though Virtual Learning Environments (VLEs) for Graduated Students. Department of Educational Technology, Faculty of Education, Kasetsart University, 2015. Van Veen, K. Virtual Learning Environments: Concepts, Methodologies, Tools and Applications. New York : McGraw-Hill, 2006. Weller, Martin. Virtual Learning Environments: Using, Choosing and Developing. New York : McGraw-Hill, 2007.