ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อการบริหารสถานศึกษา

Main Article Content

จักรกฤษณ์ หาญชัย

บทคัดย่อ

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานในองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานซึ่งมี 10 ประการ คือ 1) ลักษณะการงานที่ทำ ได้แก่ ความรู้ ความสามารถ ความถนัด 2) การนิเทศงาน มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ทำงานมีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ การนิเทศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดงานหรือลาออกจากงานได้ 3) ความมั่นคงในงาน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงานได้ทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ การได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชา 4) เพื่อนร่วมงานและการดำเนินงานภายใน  ได้แก่ ความพอใจต่อเพื่อนร่วมงาน ชื่อเสียงของสถาบัน 5) สภาพการทำงาน  ได้แก่ แสง เสียง อากาศ ห้องอาหาร ห้องสุขา ชั่วโมงการทำงาน 6) ค่าจ้าง ได้แก่ ค่าตอบแทนหรือค่าแรงในการทำงาน เช่น เงินเดือน 7) ความก้าวหน้าในการทำงาน เช่น การได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น 8) ลักษณะทางสังคม ถ้างานใดมีผู้ปฏิบัติงานร่วมกันทำงานอย่างมีความสุขก็จะเกิดความพอใจในงานนั้น 9) การติดต่อสื่อสาร  ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน 10) ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำงาน เช่น เงินบำเหน็จตอบแทน สวัสดิการ อาหาร ที่อยู่อาศัย วันหยุด ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์และทฤษฎี 2 ปัจจัยของ เฮอร์เบิร์ก ที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นไป อีกทั้งผู้บริหารจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ การวางแผนเพื่อที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยใช้ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีการบริหาร และหลักการบริหารตามแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล และการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เจนจิราพร รอนไพริน. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เชียงแพง พรวิไสย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดแผนกศึกษาและกีฬาประจำจังหวัดอุดมไซสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พาทิพย์ ชมคำ. (2552). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล.

พูลสุข ธรรมสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน เครือข่ายตากสิน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนใน กลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. ชลบุรี: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริพร เมฆสุวรรณ. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนปทุมคงคา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรเชษฐ์ ผการัตน์สกุล. (2552). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ภาคนครหลวง 2. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อรอุมา คมสัน. (2551). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1997). Management. (2nd ed.). New York: McGraw – Hill.

Campbell and et al. (1971). Education Administration. New York: University of Michigan.

Fayol, Henri. (1961). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Gillmor, C. M. (1997). The graduate efficiency index: Validity and use accountability and research measure. Research in higher education, 2(18), 600-3.

Good., C.V. (1973). Dictionary of Education. New York : MC Graw-Hill. Publishers.

Gulick, L., & Lydall, U. (1973). Paper on the Sciences of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1993). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Education and Administration Theory, Research , and Practice. 6th ed. New York: McGraw Hill.

Koontz, H and Odonnell, C. (2001). Essentials of Management. New York: McGraw-Hill.

Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row.

Milton, C. R. (1981). Human behavior in organization. Enqiewood: Cliffs, N. J. Prentice-Hall.

Morse, Nancy C. (1955). Satisfaction in the White Collar Job. Michigan: University of Michiqan Press.