การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

นิพล อินนอก
พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา
วทัญญู ภูครองนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การวิจัยดำเนิน


การ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรฝึก


อบรม ขั้นตอนที่ 3 การติดตามผลการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 14 คน


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบ

การณ์วิชาชีพครู มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) เนื้อหาและระยะเวลา 5) วิธีการฝึกอบรม 6) วัสดุอุปกรณ์และสื่อ 7) การวัดและประเมินผล มีหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 6 หน่วย คือ 1) ครูกับการวิจัยในชั้นเรียน 2) การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียน 3) นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา 4) การเก็บรวบรวมข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูล 6) การเขียนราย


งานการวิจัยในชั้นเรียน


  1. ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า 1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ การวิจัยในชั้นเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยในชั้นเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรม ในระดับมาก 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลงานวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 14 เรื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะและคณะ .(2546). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัท เมธีทิปส์ จำกัด.
ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ประวิต เอราวรรณ์ .(2542). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก 1 พฤษภาคม 2562.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด.
สมบัติ ท้ายเรือคำ .(2546). การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด .(2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2547). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). พิษณุโลก : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นคราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2560 (IMD 2017). กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำเริง บุญเรืองรัตน์ .(2556). เอกสารประกอบการสอน สถิติสำหรับการวิจัย. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Papanastasiou, E. C. (2005). “Factor Structure of the “Attitudes Toward Research” Scale.” Statistics Education Research Journal, 4(1): 16-26.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.
Tyler, R.W. (1989). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.
Waker, A.D. (2010). “A Confirmatory Factor Analysis of the Attitudes Toward Research Scale.” Multiple Linear Regression Viewpoints. 36(1): 18-27.