การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558)คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

สุภาภรณ์ หนูเมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน(หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2558)คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model)ประกอบด้วย ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน5คนอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรจำนวน 10คน ศิษย์เก่าและนักศึกษาจำนวน 40คน และผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 14 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ประเด็น


ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการประเมินหลักสูตร1)ด้านบริบทพบว่า ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร และโครงสร้างรายวิชา มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก2)ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า อาคารสถานที่ คุณวุฒิ ประสบการณ์ของผู้สอน พื้นฐานของผู้เรียน สื่อ เอกสาร ตำราเรียนมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก3) ด้านกระบวนการพบว่าการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลและการบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก4) ด้านผลผลิตพบว่า นักศึกษาทุกคนมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป และมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อนักศึกษาในภาพรวมพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2.ผลการพัฒนาหลักสูตรได้หลักสูตร 2 แผนการเรียนได้แก่ แผนการเรียนสำหรับผู้มีวุฒิวิชาชีพครูและแผนการเรียนสำหรับผู้ไม่มีวุฒิวิชาชีพครู ซึ่งสำเร็จการศึกษาแล้วมีสิทธิ์ในการสมัครสอบเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2557). พันธกิจวัตถุประสงค์ปณิธานปรัชญา
วิสัยทัศน์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อ10มิถุนายน2557จาก
http://www.edu.uru.ac.th
ชวลิต ชูกำแพง(2551).การพัฒนาหลักสูตร มหาสารคาม สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มาเรียม นิลพันธุ์(2555).การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์ กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
ภาวิณีศรีสุขวัฒนานันท์และคณะ.(2560). การประเมินการใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 138-145.

Blaz, D. (2016).Differentiated Instruction: A Guide for World Language Teachers. (2nd ed.). New York: Routledge
Boyle, B. & Charles, M. (2016).Curriculum Development. London: SAGE Publication Ltd.
Hong Pham, T. T.&Renshaw, P. (2016).How to Enable Asian Teachers to Empower Students to Adopt Student-Centered Learning.In M. Malloch, L. Cairns & B. N. O’Connor (Eds), Learning and Teaching in Higher Education (pp. 189-214). London: SAGE Publications Ltd.
McMillan, J. M. (2014). Classroom Assessment: Principles and Practice for Effective Standards-Based Instruction. (6th ed.). New Jersey: Pearson.
Oliva, P. F. & Gordon II, W. R. (2013).Developing the Curriculum. (8th ed.). Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.
Saylor, J. G., Alexander, W. M. and Lewis, A. J. (1981).Curriculum Planning For Better Teaching and Learning. (4thed.). USA: Holt, Rinehart and Winston.
Tennant, M., McMullen, C. & Kaczynski, D. (2016).Perspectives on Quality Teaching. In M. Malloch,L.
Cairns & B. N. O’Connor (Eds), Learning and Teaching in Higher Education (pp. 215-231).
London: SAGE Publications Ltd.