ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง

ผู้แต่ง

  • พรรณทิวา อินทญาติ

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง, ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี

บทคัดย่อ

            การสื่อสารเป็นทักษะที่จำเป็นในปัจจุบัน โดยวิชาวิทยาศาสตร์ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สามารถแผ่ขยายให้เพิ่มขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง

            เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง 2) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.798  เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย คือ

            1) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเท่ากับ 62.71 สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 25.80 โดยเพิ่มขึ้น 36.91 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.26 ของคะแนนพัฒนาการ

            2) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 25.51 สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.09 โดยเพิ่มขึ้น 20.43 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.07 ของคะแนนพัฒนาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2546). คู่มือครูและผู้ปกครองสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้-การอ่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการ สอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประมวล ศิริผันแก้ว. (2540). สมรรถภาพที่พึงประสงค์จากการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสาร สสวท, 25(96), 16-19.
ส.วาสนา ประวลาพฤกษ์. (2539). การวัดผลและการประเมินผลจากการปฏิบัติจริง (Authentic Assessment). สารพัฒนาหลักสูตร, 15(125), 46-50.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รายงานการสัมมนา เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 : ข้อคิดจากกรณีศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berland LK, McNeill KL. (2010). A Learning Progression for Scientific Argumentation: Understanding Student Work and Designing Supportive Instructional Contexts. Science Education, 94, 765-793.
McNeill KL, Lizotte DJ, Krajcik J, Marx RW. (2009). Supporting student’s construction of scientific explanations by fading scaffolds in instructional materials. The Journal of the Learning Sciences, 15(2), 153-191.
Sampson V, Grooms J, Walker JP. (2010). Learning to write in undergraduate chemistry: The impact of argument-driven inquiry. Paper presented at the 2010 Annual International Conference of the National Association of Research in Science Teaching (NARST). Philadelphia: Pa.
Sampson V, Blanchard MR. (2012). Science teachers and scientific argumentation: Trends in views and practice. Journal of Research in Science Teaching, 49, 1-27.
Sampson V, Enderle P, Grooms J, Witte S. (2013). Writing to learn by learning to write during the school science laboratory: Helping middle and high school students develop argumentative written skills as they learn core ideas. Science Education, 97(5), 643-670.
Walker JP, Sampson V. (2013). Learning to argue and arguing to learn: Argument-driven inquiry as a way to help undergraduate chemistry students learn how to construct arguments and engage in argumentation during a laboratory course. Research in Science Teaching, 50(5), 561-596.
Wallace CS, Hand B, Prain V. (2004). Writing and learning in the science classroom. Boston MA: Kluwer Academic.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29