การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญจากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสตอรีไลน์ (Story line) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญจากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้เทคนิคการสอนแบบสตอรีไลน์ (Story line) โดยศึกษาจากประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนทั้งสิ้น 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัด การเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสตอรีไลน์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการอ่านจับใจความสำคัญ จากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญจากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ หลังการเรียนด้วยเทคนิคการสอนแบบสตอรีไลน์ (Story line) แล้ว มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน =17.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.=1.693 สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน โดยค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน =10.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน S.D.=2.564 ซึ่งค่าเฉลี่ยดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา มากพูน. (2548). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยสตอรีไลน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาภาษาไทย และเจตคติต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมวิชาการ. (2541). รายงานการวิจัยการสํารวจความเปนไปไดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการสอนของกรมวิชาการ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ปิยนุช แหวนเพชร. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้แผนที่ความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชรินทร์ แจ่มจำรูญ. (2547) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการสอนแบบ KWL-PLUS กับการสอนตามคู่มือครู (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
พนมจิตร แสนคำ. (2546). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ Storyline Method (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระมหาณัฐพงศ์ คำมี. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระมหาวรัฏฐนน แสงศรี. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยนิทานชาดก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(2), 165-178.
วรรณวิไล เชื้อมหาวัน. (2550). การใช้รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง สังข์ทอง ที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนัง ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาเชียงใหม่.
สมชาย หอมยก. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทยคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์: เรียงความ ย่อความ และสรุปความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สุรินธร วังคะฮาด. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสเตอรีไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 1(1), 50-54.
อุดมรัตน์ พจน์สุจริต. (2553). ผลการใช้รูปแบบการสอนแบบสตอรีไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรังสีวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เขียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรทัย มูลคำ และคณะ. (2543). Child center: Story line Method: การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ