แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
สมรรถนะครู, การจัดการเรียนรู้, การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยครูผู้สอน จำนวน 97 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก และมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1. ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2. ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 3. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ 4. ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ 5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
Anthony , Edward M. (1972) Approach Method and Technique :Teaching English As a Second Language. New York : McGraw Hill.
ชฎาพร สีหาวงศ์. (2560) การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองคาย เขต 1.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปราณปรียา ผ่องจิต. (2562) การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ลำยวน ไวทำ. (2562) โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิริกร ชาลีกัน (2563) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์วิทยา. 5(6) : 241.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: บริษัทจามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556) มาตรฐานวิชาชีพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 14 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุธีรา วิเศษสมบัติ. (2560) การพัฒนาแนวทางพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัจฉาราภรณ์ สิงห์สม. (2561) แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัมหาสารคาม.
ฮูนู๊ด เจ๊ะหวังสวา (2561). การรับรู้เกี่ยวกับการสอนโฟนิกส์ของครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). นครนายก : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ