กระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐณิจชา พวงศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุกัญญา รุจิเมธาภาส คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การนิเทศ, กระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการนิเทศภายใน 2. เพื่อศึกษากระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 242 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหา การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานของการนิเทศภายในอยู่ในระดับปานกลาง และมีปัญหาอยู่ในระดับมาก กระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสำรวจสภาพปัจจุบันและสร้างองค์ความรู้ของกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม 2. การวางแผนและจัดทำแผนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม 33 การดำเนินงานนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม 4. การประเมินผลและรายงานผลการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม และ 5. การขยายผล เผยแพร่ และต่อยอดกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ผลการประเมินกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กิตติเชษฐ์ อักษร. (2557). การนิเทศแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการนิเทศ PIDREO. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565. จาก https:// kittichet.wordpress.com/2014/09/08/การนิเทศแบบมีส่วนร่วมโ/

จริยาภรณ์ เรืองเสน. (2563). แนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ดวงใจ ศรไชย. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประภาภรณ์ พลรักษ์. (2560). แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). การเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องเป็นอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564. จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/71421/-teaartedu-teaart-teaarttea-.

นิรันดร กากแก้ว. (2560). การศึกษาความต้องการของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่น (เอกสารงานวิจัย). ขอนแก่น: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุปรียาอร สีสะแล. (2554). การศึกษาความต้องการนิเทศภายในของครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สุรีมาศ สุขกสิและพัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พิชญ์พิริยะ กรุณา. (2563). แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พิสัน โพนทัน. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สกาวรัตน์ ไกรมาก. (2562). การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 (วิจัย). พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23