องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมด้วยกระบวนการสะตีมฟอร์อินโนเวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกรของนิสิตครูสาขาคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • สุภาณี เส็งศรี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธงชัย เส็งศรี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม, กระบวนการสะตีมฟอร์อินโนเวเตอร์, การเป็นนวัตกร, นิสิตครูสาขาคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมด้วยกระบวนการสะตีมฟอร์อินโนเวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกรของนิสิตครูสาขาคอมพิวเตอร์ ให้มีความสามารถเชิงนวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. เอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ โดยมีคำสำคัญ คือ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม, กระบวนการสะตีมฟอร์อินโนเวเตอร์, การเป็นนวัตกร, นิสิตครูสาขาคอมพิวเตอร์   2. คณาจารย์ประจำหลักสูตร/ ผู้สอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 15 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง 3. นิสิตนักศึกษาครู หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต หรือครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 15 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงจากสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรการศึกษา/ ครุศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา หรือเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา และ 4. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนคณาจารย์ จำนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบบันทึกสารสนเทศ 2. แบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ตามกรอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 3. เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม  และ 4. แบบสอบถามเพื่อยืนยันความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนคณาจารย์  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ และเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการจัดความถี่

ผลการวิจัยสรุปว่า องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมด้วยกระบวนการสะตีมฟอร์อินโนเวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกรของนิสิตครูสาขาคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหาการออกแบบและพัฒนานวัตกร 4. กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยคุณลักษณะการเป็นนวัตกรมี 6 คุณลักษณะสำคัญ คือ 1. ผู้แสวงหานวัตกรรม  2. ผู้กล้าคิด กล้าทำ 3. ผู้คิดกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม และคิดวิเคราะห์ 4. ผู้มีความสามารถในการเลือกกลวิธีการทำงาน 5. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 6. ผู้ออกแบบ/ กิจกรรม และพัฒนานวัตกรรม ณ ชั้นเรียน

References

ไกรยส ภัทราวาท. (2563). 5 Steps สำคัญ “นวัตกร” เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก https://www.eef.or.th/infographic-10-06-20

พัชรพร อยู่ยืน, อภิญญา ภูมิโอตา และศิระ ศรีโยธิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0” The 4th National Conference on Public Affairs Management “Public Affairs Management under Thailand 4.0” 4 สิงหาคม 2560 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ. (2563). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้น. สืบค้น 3 กันยายน 2563, จาก https://thaiwinner.com/design-thinking

สุภาณี เส็งศรี. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์. เอกสารประกอบการอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สาระเทคโนโลยี คณะศีกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิมล สพฤกษ์ศรี และโชคชัย เตโช. (2559) การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมจากห้องเรียนสู่โลกกว้าง: กรณีศึกษาโครงการเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ณ ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 21-42.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.ผู้แปลและเรียบเรียง (2547) กลยุทธ์การเรียนการสอนที่หลากหลาย : แนวปฏิบัติพัฒนา และนิเทศ. Differentiated Instructional Strategies in Practice : Training Implementation , and Supervision . กรุงเทพ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

Chai-Anan, S. (2013). Learning through activities. Retrieved May 4, 2020 from https://mgronline.com/daily/detail/undefined

Educational Technology and Communications Department (2021). Bachelor of education program in computer (4-year program). Phitsanulok, Naresuan University.

HR Note Thailand. (2019) กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564 จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking/

Kriengsak, C. (2019). Education is innovation. Bangkok: Rangsit University.

MindSpring. (2022) โลกที่เปลี่ยนผัน หมดยุค VUCA World เข้าสู่ยุค BANI World โลกแห่งความเปราะบาง และคาดเดาและเต็มไปด้วยความวิตกกังวล. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.mindspringconsulting.com/2022/12/07/what-is-bani-world/

National Innovation Agency, Thailand. (2020). STEAM4INNOVATOR. Bangkok: Ministry of Higher Education, Science, Research and InnovationOffice of the Education Council. (2016). National education plan B.E. 2017-2036. Bangkok: Office of the Education Council

Suvit, M. (2017). Philosophy of sufficiency economy and sustainable development: The paradigm develop to Thailand 4.0. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Sengsri, T. (2021). Activities to promote innovation by using the STEAM4INNOVATOR. Journal for Research and Innovation of Institute of Vocational Education Bangkok, 4(2), 37-52.

Wasan, S., & Thirawat, C. (2016). Educational innovator’s potential development method. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(1), 748-767.

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27