การศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • นิษฐา หรุ่นเกษม สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สิริมณฑ์ พึ่งสังวาลย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปรัชญา ทองชุม สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เกวลิน ศรีรู้ญา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เจษฎากร ทิพวรรณ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วรพรต ปราณีดุดสี สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

หลักสูตร, ทักษะ, การรู้เท่าทันสื่อ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และศึกษาความพึงพอใจจากการใช้หลักสูตรดังกล่าว การวิจัยกึ่งทดลองแบบ Pretest Posttest Design ในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 66 คน ใช้วิธีการอาสาสมัครเข้าร่วมใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ จำนวน 6 โมดูล ด้วยความเต็มใจของตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ และ แบบประเมินความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำเนื้อหาจากหลักสูตรไปใช้สอนนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนหลังเรียนจากการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยโมดูลที่ได้รับความสนใจและผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ โมดูลที่ 3 การรู้จักสื่อ สำหรับกิจกรรมกลุ่มย่อยของโมดูลที่ 6 การมีส่วนร่วมในสื่อ ได้ผลมากที่สุดในการกระตุ้นผู้เรียนให้มีการส่วนร่วมและคิดวิเคราะห์เพื่อเปลี่ยนแปลงสื่ออย่างสร้างสรรค์ และกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร ในระดับมากที่สุด

References

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิษฐา หรุ่นเกษม และคณะ. (2564). การศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน :มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทันประจำปีงบประมาณ 2564 สำนักงาน กสทช.

ปริศนา เชี่ยวสุทธิ. (2561). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรัชญ์ ครุจิต. (2562). แนวทางการขับเคลื่อนความรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 236-252.

Corser, K., Dezuanni, M. & Notley, T. (2022). How news media literacy is taught in Australian classrooms. Aust. Educ. Res. 49, 761–777. Retrieved April 11, 2023, from https://doi.org/10.1007/s13384-021-00457-5.

Endich, R.S. (2004). Media literacy: activities for understanding the scripted world. Ohio: Linworth.

Erdem, C., & Erişti, B. (2022). Implementation and evaluation of a media literacy skills curriculum: an action research study. International Journal of Modern Education Studies, 6(1), 20-50.

Geraee, N., Kaveh, MH., Shojaeizadeh, D. & Tabatabaee, HR. (2015). Impact of media literacy education on knowledge and behavioral intention of adolescents in dealing with media messages according to stages of change. J Adv Med Educ Prof., 3(1):9-14. PMID: 25587549; PMCID: PMC4291508.

Grizzle, A. et al. (2021). Media and information literate citizens: think critically, click wisely! UNESCO.

Hobbs, R. (2004). A review of school-based initiatives in media literacy education. American Behavioral Scientist, 48(1), 42–59. https://doi.org/10.1177/0002764204267250

Mamikonyan, T. (2022). Teacher Education: Critical Media Literacy for STEM Teacher Candidates. Retrieved January 15, 2023, from https://ic4ml.org/journal-article/teacher-education-critical-media-literacy-for-stem-teacher-candidates/.

Muratova, N., Grizzle, A. & Mirzakhmedova, D. (2019). Media and information literacy in journalism: A handbook for journalists and journalism educators. UNESCO.

Scheibe, C. & Rogow, F. (2012). The teacher’s guide to media literacy: critical thinking in a multimedia world. CA: Corwin.

Silverblatt et al. (2014). Media literacy: keys to interpreting media messages. Fourth edition. CA: Praeger.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-15