ผลการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ผ่านบทอาขยานจีน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ภาษาจีน, แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน, บทอาขยานจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีน สำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษสมัยใหม่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนผ่านแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีน สำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษสมัยใหม่ และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนผ่านแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีน สำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษสมัยใหม่ ประชากรเป็นนักศึกษาสาขาวิชาอังกฤษธุรกิจสมัยใหม่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 12 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 10 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 คน และชั้นปีที่ 4 จำนวน 14 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 46 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาอังกฤษธุรกิจสมัยใหม่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 20 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย (Purposive Sampling Method) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนระหว่างเรียน แบบบทดสอบหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีน แบบตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและความเหมาะสมเชิงเนื้อหา แผนจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน และแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ผ่านบทอาขยานจีน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นวิเคราะห์หาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนผ่านแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนด้วยบทอาขยานจีน ใช้การทดสอบค่าทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนผ่านบทอาขยานจีนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.60/76.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนผ่านแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (Hanyu Pinyin) ด้วยบทอาขยานจีนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.61)
References
กนกวรรณ ทับสีรัก. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมประกบแบบฝึกสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี่ที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กุสยา แสงเดช. (2554). แบบฝึกทักษะคู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: แม็ค.
เกียรติศักดิ์ วจีศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำาตนเองบนเว็บเพื่อเสริมสร้างความ สามารถใน การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จินตนา พรสกุลไพศาล. (2560). การศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานภาษาจีน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เซียวลิน หยาง. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมคําศัพท์ประกอบแบบฝึกทักษะสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ตุลยนุสรญ์ สุภาษา และฉี เสวียหง. (2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 8(1), 115-117.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นริศ วศินานนท์. (2548). เรียนรู้อักษรจีน. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2559). บทอาขยานคืนสู่ห้องเรียน อนุบาล ประถม มัธยม ขอกระทรวงรีบทำ. สืบค้น 13 มิถุนายน 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/ column/article_9455.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศรีสุดา คำลือ. (2558). การใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
หวัง เทียนสง. (2561). ปัญหาการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา 1573107 ภาษาจีน สำหรับการบริการด้านการบิน 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารช่อพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 29(2), 132.
สุรชัย ปัทมผดุงศักดิ์. (2546). ภาษาจีนเบื้องต้น 1. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป.
อรทัย ธรรมนาม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำยากในภาษาจีนกลางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำตามระบบสัทอักษรจีน (พินอิน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Best, J. W. and Kahn, J. W. (1986). Research in education. (6 th ed). N.J.: Prentice Hall.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed). New York: McGraw - Hill Book Co.
Green, H.A., and W.T. Petty. (1971). Developing Language Skill in the Elementary School. Boston: Allyn and Bacon, Inc..
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ