แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
แนวทาง, ทักษะด้านดิจิทัล, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน ความต้องการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร หาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ ศึกษาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน ความต้องการทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 159 คน หาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลและด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางการบริหาร จำนวน 17 คน และประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยใช้แบบประเมิน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลและด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรสายสนับสนุนที่มีตำแหน่งทางการบริหาร จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาในรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ คือ ด้านคุณลักษณะ ความต้องการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผน มี 6 แนวทาง ด้านการจัดองค์การ มี 5 แนวทาง ด้านการนำ มี 10 แนวทาง และด้านการควบคุม มี 6 แนวทาง และแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากถึงมากที่สุด
References
กรณัฏฐ์ ฐิตากรพงศ์สถิต สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชต์ภาค, 16(47), 189-206.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). 51 เปอร์เซ็นต์ คนไทยเชื่อมีทักษะดิจิทัล พร้อมรองรับการทำงาน. สืบค้น 28 ธันวาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/technology/515121.
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กระทรวง. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
นันท์นิธิ พงศ์โพธิธรรม (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด สู่การเป็นนวัตกรผู้ประกอบการสาธารณะในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 12(2), 93-110.
พรไพลิน ตะเภาทอง. (2562). ความต้องการในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของเจ้าหน้าที่พัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิรุฬห์ภัค เนตรสืบสาย และนวรัตน์ การะเกษ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ราชภัฏกำแพงเพชร, มหาวิทยาลัย. (2562). แผนกลยุทธ์การบริหารและพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2561-2565. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ราชภัฏกำแพงเพชร, มหาวิทยาลัย. (2563). แผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากร สายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2564. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ราชภัฎกำเพงเพชร, มหาวิทยาลัย. (2564). รายงานประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2564. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนัก. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
สุดใจ วันอุดมเดชาชัย. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ