การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • เพชรา บุดสีทา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร Petchara_4554

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชน, โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพนคร 2.  เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชน ฯ และ 3.  เพื่อใช้หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนตำบลเทพนครฯ วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1. โดยการวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร  จำนวน  382  ครัวเรือน  วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนฯ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนฯ และ 3. อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนฯ ให้กับประชาชนตำบลเทพนคร วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1.  ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพนครฯ มีความต้องการพัฒนาอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้  สามารถเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วันธรรมดา ระยะเวลาอบรมของแต่ละหลักสูตรที่ต้องการเข้ารับการอบรม หลักสูตร 1 – 3 วัน และอาชีพที่ต้องการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดรายได้ 2. หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนตำบลเทพนคร ฯ ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 6 หลักสูตร มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบของหลักสูตรการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ 100 และ 3. หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพชุมชนฯ ที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้ ทักษะการปฏิบัติการ และมีความพึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 80 ทุกหลักสูตร

Author Biography

เพชรา บุดสีทา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รองศาสตราจารย์ ดร.เพชรา บุดสีทา สังกัดสาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

References

จิรวรรณ บุญมี. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. เชียงใหม่: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธีระวัฒน์ จันทึก และคณะ. (2560). การพัฒนาอาชีพชุมชนตามอัตลักษณ์หมู่บ้านมุสลิมด้วยศูนย์บริหารจัดการบ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิตยา ทวีชีพ, ทิพย์วัลย์ สุรินยา และพนมพร พุ่มจันทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมอาชีพหัตถกรรมจากผักตบชวาสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 37(3), 279–290.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

เพชรา บุดสีทา. (2560). การวิจัยการตลาด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สิรวิชญ์ วราโชชนาการ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15 (2), 179.

สมคิด บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ :จูนพับลิชชิ่ง.

สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2564). คู่มือผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Saylor, J. G. & Alexander, W. M. (1974). Curriculum Planning for schools. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20