การพัฒนารูปแบบโฆษณาดิจิทัลการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, โฆษณาดิจิทัล, การท่องเที่ยวชุมชน, จังหวัดนครพนมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโฆษณาดิจิทัลการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดนครพนม ประเมินประสิทธิภาพ การพัฒนารูปแบบโฆษณาดิจิทัลการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดนครพนม โดยกำหนดพื้นที่ของการวิจัยทั้งสิ้น 11 ชุมชน 4 อำเภอ ของจังหวัดนครพนม ผู้วิจัยได้ใช้หลักการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอัตลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดนครพนม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและสร้างสรรค์โฆษณาดิจิทัล ด้านนิเทศศาสตร์ การโฆษณา ศิลปะและการออกแบบ จำนวน 41 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมินผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์โฆษณาดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
ผลการวิจัยพบว่า ผลของการพัฒนารูปแบบโฆษณาดิจิทัลการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดนครพนม สรุปผลวิเคราะห์ตามแบบประเมินประสิทธิภาพการออกแบบและสร้างสรรค์โฆษณาดิจิทัลการท่องเที่ยวชุมชม จังหวัดนครพนม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผ่านตามเกณฑ์ในทุกด้าน ดังนี้ 1. คลิปวีดีโอ/ภาพยนตร์โฆษณา 2.แผ่นพับ/แผนที่ท่องเที่ยวชุมชนและไกด์บุ๊ค 3. ภาพถ่าย และ 4. โปสเตอร์โฆษณา โดยมีผลสรุปค่าเฉลี่ยรวมในทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
References
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2554). หลักการโฆษณา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน.วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 51-61.
ประเวศ วะสี. (2541). เศรษฐกิจชุมชน ทางเลือกเพื่อทางรอดสังคมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ประสพชัย พสุนนท์. (2555). วิจัยตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.
พลอยชนก ผาสุกตระกูล. (2560). รูปแบบการโฆษณาบนเฟซบุ๊คที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภาวุธ พงษวิทยภานุ, และสุธน โรจน์อนุสรณ์. (2551). e-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์. กรุงเทพฯ: ตลาดดอทคอม.
เมธาวิน สาระยาน. (2564). การสร้างสรรค์สื่อวิดีทัศน์เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านในดง อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 11(1), 1-12
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2553). การถ่ายภาพดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2567 สืบค้น 26 มีนาคม 2566. จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/files/com_news_struct/2023-01_8767e6a7a3cd217.pdf
สมัชชนันท์ เอกปัญญากุล. (2565). การใช้องค์ประกอบในการออกแบบโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสื่อความหมาย ในสื่อนอกบ้าน: โปสเตอร์ ของประเทศไทย.วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 15(2), 75-97.
สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2560). การพัฒนาสื่อวิดีทัศน์เพื่อส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3), 285 – 296.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ