การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • โชติวัน แย้มขยาย คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม, การให้ข้อมูลป้อนกลับ 360 องศา, ประสิทธิผลของรูปแบบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 2 การศึกษาผลประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาสาขาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาจีน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 16 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัย ได้แก่ 1. แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน 2. แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และเกณฑ์การประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed – rank test

ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ 4.61 แปลผลอยู่ในระดับ ดีมาก และผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน

References

กุลธิดา อ่อนมี, จตุพล ยงศร และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตอนบน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 981-994.

จิตรลดา บูรณะไชย และปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2565). การศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 1-12.

โชติมา หนูพริก. (2559). การประเมินเพื่อการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 18-30.

ญาณี เพชรแอน และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2558). การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง อาหารกับสุขภาพ รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 2080-2091.

ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา. (2559). การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิจัย มสด. (SDU Research Journal) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา, 12(3), 207-224.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 236 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 12-39.

พรรณิสรา จั่นแย้ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วย กลยุทธ์เกมมิฟิเคชั่นและผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานี้เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสวรรค์ วงศ์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 111-121.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2559). การสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 56-64.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพาณิช.

ภารดี กำภู ณ อยุธยา. (2560). การศึกษาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ ในเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 123-135.

รสิตา วรรณรัตน์, อาพันธ์ชนิต เจนจิต, ผลาดร สุวรรณโพธิ์. (2563). วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 73-86.

วราพร ทองจีน. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). การนำระบบข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา มาประยุกต์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 15(2), 37-74.

สุธิดา การีมี. (2565). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 1. สืบค้น 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.scimath.org/article-science/item/12485-1-2

สุภาวดี สาระวัน. (2562). กระบวนการทางวิศวกรรมสำคัญกับสะเต็มศึกษาอย่างไร?. สืบค้น 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.scimath.org/article-stem/item/9117-2018-10-18-09-00-16.

เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2557). ปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและ กระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ สุขสาราญ จิระสุข สุขสวัสดิ์ นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2561). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(2), 43-55.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคือ อะไรในสะเต็มศึกษา. นิตยสาร สสวท, 42(185), 35-37.

อรนุช ศรีสะอาด. (2561). การประเมินตนเอง (Self-Assessment). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(2), 1-5.

Arbesman, M. & Puccio, G. (2001). Enhanced quality through creative problem solving. Journal of Nursing Administration, 31, 176-178.

Carlson, M.S. (1998). 360-degree feedback: The power of multiple perspectives. Popular Government, 68(2), 38-49.

Echos school. (2021). Design Thinking: A Core Skill for A Post VUCA World. Retrieved March 1, 2023, from https://schoolofdesignthinking.echos.cc/blog/2021/01/design-thinking-a-core-skill-for-a-post-vuca-world/.

EiE. (2017). The Engineering Design Process. Retrieved March 22, 2023, from https://www.eie.org/overview/engineering-design-process.

Hu, D. (2006). The Effects of Scaffolding on the Performance of Students in Computer- based Concept Linking and Retention of Comprehension. (Doctoral dissertation). Available from ProQuest Dissertation & Thesis database.

Lewin, J. E.; & Reed, C. A. (1998). Creative problem solving in occupational therapy. Philadelphia: Lippincott-Raven Publishers.

London, M. (2003). Job feedback: Giving, seeking, and using feedback for performance improvement. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

National Research Council. (2009). Engineering in K–12 education: Understanding the status and improving the prospects. Washington DC: National Academies Press.

Osborn, A. F. (1957). Applied the imagination: principles and procedures of creative thinking (3 Edition). New York: Charles Scribner's Sons.

Shute, V.J. (2008). Focus on Formative Feedback. Review of Educational Research, 78(1), 153-189.

Thinkibility. (2019). Engineering vs Design Thinking. Thinkability. Retrieved March 25, 2023, from https://thinkibility.com/2018/12/01/engineering-vs-design-thinking/.

Torrance, E. P. (1965). Rewarding Creative Behavior. Englewood Cliff, N.J.:Prentice Hall.

Treffinger, D. J. (1995). Creative Problem Solving: Overview of Educational Implications. Educational Psychology Review. 7, 301-312.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological process. Cambridge, Harvard University Press.

Ward, P., (2004). 360 Degree feedback. Mumbai: Jaico Publishing House.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30