การพัฒนา การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกวิชาภาษาไทยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

Kloyjai Jimanang

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาภาษาไทยของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ประชากรในการวิจัยเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต   3   จำนวน  198  คน   กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ในอำเภอไพรบึง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต   3   จำนวน  35  คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   ได้แก่  รูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตร  แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก   แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  และแบบประเมินความพึงพอใจ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน  ได้แก่   t-test  (for  dependent)  การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย  4  ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนที่  1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  ขั้นตอนที่  2  ผลการพัฒนารูปแบบ  ขั้นตอนที่  3  การนำรูปแบบไปใช้   ขั้นตอนที่  4  การปรับปรุงรูปแบบ


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. รูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาภาษาไทย ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น  มีองค์ประกอบ  6  ประการ คือ 1) หลักการ  (Strategies)  2) วัตถุประสงค์  (Objective)  3) เนื้อหา  (Content)  4) กระบวนการนิเทศ  (Innovation)  5) การวัดและประเมินผล  (Assessment)  6) ผลลัพธ์ (Learning  Outcome)  ใช้ชื่อว่า  SOCIAL  Model 

  2. การศึกษาผลการใช้รูปแบบพบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูจากการสังเกต  3  ระยะ  มีแนวโน้มสูงขึ้น  ครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด    (= 4.53)  ผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากการบันทึกการสังเกต  และจากการสอบถามความพึงพอใจ  พบว่า  ครูมีความกระตือรือร้นในการจัดการเรียนรู้

แม้จะไม่ใช่ครูที่มีวุฒิทางการสอนภาษาไทย  ครูมีความพึงพอใจในกระบวนการพัฒนา  เนื่องจาก ผู้นิเทศใส่ใจ  เข้าใจ  ครู  ผู้บริหารและสถานศึกษาเป็นอย่างดี ครูได้รับความสะดวกในการใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ผู้วิจัยจัดทำไว้ ครูเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างสื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้การดำเนินการได้ผลดี  ทำให้ครูในระดับชั้นอื่นๆ  มีการดำเนินการในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน  นักเรียนส่วนใหญ่จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น จากผลลัพธ์ของรูปแบบพบว่าครูมีความมั่นใจและสามารถสร้างผลงานดีเด่นที่เป็นแบบอย่างได้  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น   โรงเรียนมีแนวปฏิบัติในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย