การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี Developing a model for empowerment of internal supervision within educational institutions toward development management of learning English for communication, private school teacher Ubon Ratchathani Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) พัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 3) ประเมินผลรูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 70 คน ครูผู้รับผิดชอบงานการนิเทศภายในของโรงเรียน 70 คน และ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 70 คน จำนวน 210 คน การสุ่มใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป ของ Krejcie and Morgan สุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พัฒนาร่างรูปแบบโดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 9 คน วัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนระดับประถมศึกษา และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนละ 9 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานการนิเทศ 2 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 6 คน รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตกระบวนการดำเนินงาน แบบสอบถาม และ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานีมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง (=3.33) (SD.=0.95) 2) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี มีองค์ประกอบของรูปแบบคือ แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินการ การวัดและประเมินผล และแนวทาง/เงื่อนไข ปัจจัยการนำรูปแบบไปใช้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้น ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) การวางแผนและการจัดทำโครงการนิเทศ 4) การดำเนินงานการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ 6 ) การสร้างบรรยากาศที่เสริมพลังในการนิเทศ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า 3.1) โรงเรียนเป้าหมายมีการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาทั้ง 6 ขั้น และมีการปฏิบัติตามตัวชี้วัดของแต่ละขั้นตามกระบวนการดำเนินการของรูปแบบทุกตัวชี้วัด 3.2) การดำเนินการเสริมพลังอำนาจในการนิเทศภายในสถานศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี มีการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.3 ) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด