การแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเพื่อสร้างเป้าหมาย สู่โลกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

จุฑารัตน์ เรณุมาน
ดวงนภา อ่อนเหลือ
ชลัดดา บุญมาก
ปอยขวัญ เขมา
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการประกอบอาชีพการเปลี่ยนแปลงทำให้บางอาชีพสูญหาย และมีอาชีพเกิดใหม่เป็นวัฏจัก อาชีพบางอาชีพที่ตอนนี้สูญหายในขณะที่บางอาชีพเกิดขึ้นใหม่ตามวัฏจักรของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อเยาวชนในวัยศึกษาเล่าเรียนซึ่งเป็นวัยที่สำคัญในการวางรากฐานให้กับตนเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนอันจะนําไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตทำให้การกำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของเยาวชนเกิดความยุ่งยาก  การแนะแนวอาชีพจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมนักเรียน ให้รู้จักตนเอง มีทักษะทางชีวิต สามารถพัฒนาและเลือกเรียนในสาขาที่จะสามารถต่อยอดไปถึงอาชีพในอนาคตได้ หากนักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายได้ ก็จะทำให้นักเรียนดำเนินชีวิตอย่างประสบความสำเร็จ และมีความสุข การแนะแนวอาชีพจึงเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมนักเรียนวัยรุ่นให้เข้าใจตนเอง วางแผน สร้างเป้าหมายชีวิต ให้สามารถตัดสินใจเลือกอาชีพที่ตนเองได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือบริหารจัดการแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2555). แนะแนวการศึกษาและอาชีพ:นโยบายและแนวทางดําเนินงาน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คมเพชร ฉัตรศุภสกุล. (2545). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2564). การแนะแนวด้านอาชีพและการสร้างความเข้าใจตนเองสำหรับนักเรียนระดับมัธยมตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(2), C1-C10.

จตุพร ปักเคระกา. (2544). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.

สวัสดิ์ สุวรรณอักษร. (2542). จิตวิทยาการแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พีระพัฒนา.

สมร ทองดี และวารุณี บุญประกอบ. (2545). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว ในประมวล สาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนว หน่วยที่ 9–15. นนทบุรี: โรงพิมพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2529). การแนะแนวอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: กองบริการการศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2561). แผนพัฒนาการแนะแนว และ การจัดกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2561-2565) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อรอนงค์ ธัญญะวัน. (2539). การแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

Super, D.E. (1957). The Psychology of Careers. New York: Harper.

Turk, Gayla Claire. (1985). Development of the music Listening Strategy Tempo Computer Assisted Instruction in Music Listening. Dissertation, Abstracts International, 45(08 A), 2436.