จิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิชาชีพครูในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศต่างตระหนักและให้ความสำคัญ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าว่าชาชีพครูเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ ที่มีความสำคัญ มีความรักและเมตตา เอาใจใส่ มีความกรุณาในการเลือกสิ่งดีงามมาจัดการเรียนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ที่อิงเนื้อหาวิชา และวิชาชีวิตสอดแทรกเข้าไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นเรื่องที่เราควรกระทำในฐานะผู้รับบทบาทหน้าที่การสอนซึ่งสิ่ง ๆ หนึ่งจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีต้นแบบที่ดี มีความจำเป็นในการพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นบุคคคลแห่งการเรียนรู้ทั้งภายนอกและภายใน เรื่องราวที่ถูกสั่งสมเป็นประสบการณ์แต่การทำงานเป็นสิ่งที่ได้มากกว่าประสบการณ์คืองานด้านจิตตปัญญาศึกษาที่ค่อย ๆ แทรกซึมลงไปในตัวผู้เรียนผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ การเลือกที่จะอยู่กับตนเอง หรือเราเรียกว่า การรู้สึกตัว การมองตนเอง เห็นตนเองอยู่เสมอ มีสติ ตระหนักรู้เรื่องราว ทบทวนตนเองบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความจริง ความดี ความงาม
Article Details
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ติช นัท ฮันห์. (2545). ศานติในเรือนใจ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ปราณี อ่อนศรี และคณะ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษระตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพริศพรรณ แดนศิลป์. (2556). สู่ความกว้างของดวงใจ: บนเส้นทางงานเยียวยาจิตใจวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
วิจารณ์ พานิช. (2555). การพิจารณาอย่างใคร่ครวญ. เวทีการประชุมวิชาการจิตตปัญญาศึกษา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย, หิมพรรณ รักแต่งาม, จิรัฐิกาล พงศ์ภักเธียร, และ เพริศพรรณ แดนศิลป์. (2557). งานวิจัยแบบฉัน. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). จิตตปัญญาศึกษา สู่ชีวิตที่ดีงาม. รวมบทความการประชุมวิชาการประจำจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 8.
สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. (2556). การแสวงหาความรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา: ญาณวิทยาและวิธีวิทยาการวิจัย. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริรัตน์ นาคิน. (2566). สรุปรายงานรายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญา ภาษาเพื่อการสื่อสารงานครูจากปัญญาภายใน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ประจำปีการศึกษา 2566. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.