ความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

ปริญา ปริพุฒ
รัตนะ ปัญญาภา
จันทร์รุ่ง สัณฑมาศ
ประภัสสร ผลสินธ์
พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ
ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ระยะเข้าสู่วิชาชีพ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี  เขต 3  กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่  ครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ รุ่นบรรจุปี 2565  จำนวน  7  คน  ซึ่งบรรจุในเขตพื้นที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่กลุ่มผู้วิจัยเป็นทีมนิเทศ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความสามารถในการสอนของครูตามโครงการฯ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แผนการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละคน  และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูในขณะเปิดชั้นเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา   ผลการวิจัย  พบว่า  ความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ระยะเข้าสู่วิชาชีพ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี  เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก  โดยครูมีความสามารถมากที่สุดในด้านการบูรณาการ CBL และมีความสามารถน้อยที่สุดในด้านการบูรณาการ CLIL  ซึ่งเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาครูต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). เสวนาหัวข้อ “Lessons Learned จากโครงการครูคืนถิ่น บทเรียนจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล” วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 live สด โครงการ EDUcoworking ประจำสัปดาห์. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.edu.chula.ac.th/node/1386

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2566). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการ TPACK+CLIL+CBL+PBL โครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ รุ่นบรรจุปี 2565. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2560). หลักสูตรการพัฒนาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะการเข้าสู่วิชาชีพ (Induction Period) รุ่นปี พ.ศ. 2560 เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิติธร เถาว์รินทร์ ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์ อภิญญา สุขช่วย กฤติน ขันละ และปริญา ปริพุฒ. (2566). “ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างTPACK+CLIL+CBL+PBL ตามภูมิปัญญา “ยลยินถิ่นเทียนธรรม งามล้ำวัฒนธรรมวิถี 231 ปี อุบลราชธานี ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม” ในการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 3 “เขตต์โขงนครา ภูมิธรรม ภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนานวัตกรรม เเละเศรษฐกิจ BCG” วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศิรินันท์ พงษ์แสนพันธ์. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการฐานชุมชน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและทรัพยากรธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สุภาวรรณ ฤๅกําลัง. (2564). การพัฒนาระบบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 15(1), 30-43.