ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 (2) ศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 308 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน และครูผู้สอน จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ด้านภาพรวมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ภาพรวมพบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
คุรุสภา. (2562). การเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประจำปี 2562. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 18 พฤษภาคม 2567). จาก http://www.local.moi.go.th/2009/pdf
ณรงค์ศักดิ์ ทองสาคร. (2565, เมษายน).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารต่อสมรรถนะของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 13.
ประสิทธิ์ สตำ.(2564).ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายร่มโพธิ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353 - 360.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน สพป.ลพบุรี เขต 1 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 18 พฤษภาคม 2567). จาก https://sites.google.com/site/policylopburi1/phaen-ptibati-kar-praca-pi-khxng-sphp-lphburi-khet-1-pi-2563.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2556). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 15 เมษายน 2563) จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/filesdownload/2013-03-27%E0%B8%A1%E0%B8%B5.% E0%B8%84.2556.pdf.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 15 เมษายน 2563) จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ ewt_dl_link.php?nid=28182.
สุวรีย์ศิริ โภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
Bass., & Avolio. (1994). Through transformational leadership. (Online) (Retrieved March 20, 2020) from https://books.google.co.th/books?id=_z3_BOVYKIC&printsec= frontcover&hl=th&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=onepage&q&f=false.
Richard DuFour, & Rebecca DuFour. (2012). The School Leader’s Guide to Professional Learning Communities at Work. U.S.A.: Solution Tree.