ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติสังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย

Main Article Content

เจลจิรา จรูญแสง
เสริมทรัพย์ วรปัญญา
ภูวดล จุลสุคนธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ สังกัดแอ๊ดเวนติสมิชชัน สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ สังกัดแอ๊ดเวนติสมิชชัน สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทยจำแนกตาม วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน ครูผู้สอน จำนวน 243 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ สังกัดแอ๊ดเวนติสมิชชัน สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต 2) ด้านความคิดเชิงปฏิวัติ3) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ 4) ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูงและ5) ด้านการนำปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ สังกัดแอ๊ดเวนติสมิชชัน สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา อาทรกิจ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 206.

ประไพ ปลายเนตร. (2559). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียแปซิฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พลนวัติ ศรีสูงเนิน. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

เมธี ศรีโยธา. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนติสมิชชัน. (2560). ข้อมูลสารสนเทศ. สระบุรี: ผู้แต่ง.

วรรณฤดี มณฑลจรัส. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียน ประชารัฐกรณีศึกษาจังหวัดพัทลุง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 244-260.

วุฒิชัย พวงพิลา. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา.

Dubrin, A.J. (2010). Leadership: Reach findings practice and skill. Boston: Houghton.

Ellen, G.W. (2002). Christ's object lessons. Hagerstown, MD: Review & Herald Publishing Association.

Taro Yamane. (1973). Statistic: An introductory analysis3rded.. New York: Harper & Row.