ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี เพื่อยกระดับสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี เพื่อยกระดับสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี (TPACK Model) 2) ศึกษาสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี (TPACK Model) โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้วงจร PAOR มีกลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) แบบประเมินตนเองด้านการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมเทคโนโลยี และ 2) แบบประเมินสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานเทคโนโลยี มีการวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้สอนมีความรู้ด้านเนื้อหาวิชา (CK) มากที่สุด ( = 4.69, = 0.37) รองลงมาคือ ความรู้ด้านศาสตร์การสอน (PK) ( = 4.50, = 0.38) และความรู้ด้านศาสตร์การสอนผนวกเนื้อหาวิชา (PCK) ( = 4.50, = 0.39) และ 2) ครูผู้สอนมีสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ( = 2.82, = 0.20)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทมณี สระทองหน และ จรินทร อุ่มไกร. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดยการใช้การสอนแบบเสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 42-47.
ณัฐพงษ์ บางท่าไม้. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิด TPCK Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระชาติ ภาษีชา และ มธุรส จงชัยกิจ. (2561). การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดม่วง สํานักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 157-166.
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2562). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(1), 51-64.
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/311264.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1990). The action research planner. (3rd ed.). Geelong, Victoria: Deakin University Press.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge?. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), 60–70.