การรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูในโครงการพัฒนา นวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครู และ 2) ศึกษาการรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐานที่จัดโดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2567 จำนวน 169 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงคือครูที่ยินดีให้ข้อมูลและตอบแบบประเมินตนเองผ่าน Google form เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการออกแบบการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุดคือครูมีเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีผลการประเมินน้อยที่สุดคือครูมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล 2) การรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุดคือการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีผลการประเมินน้อยที่สุดคือการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Article Details
References
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2566). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการ TPACK+CLIL+CBL+PBL โครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ รุ่นบรรจุปี 2565. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2567). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2567. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2563). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชลธิชา การีซอ และธีรภัทร กุโลภาส. (2562). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 38-52.
ธิดารัตน์ จันทะหิน, สุพัตรา โคตะวงค์, ธิฎารัตน์ รุจิราวินิจฉัย และปริญา ปริพุฒ. (2567). แนวทางการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 6(1), 292-300.
นันท์นภัส นิยมทรัพย์, จินตนา ศิริธัญญารัตน์, บุญสม ทับสาย, กชพร รัตนศิริ, จินดาหรา โก้เครือ, ฐิติพันธุ์ บัวเจริญ, ธัญญารัตน์ นาทะชัย และนฤมล โก้เครือ. (2566). มุมมองของครูประจำการด้านการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี. วารสารครุศาสตร์สาร, 17(2), 203-217.
นิติธร เถาว์รินทร์, ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์, อภิญญา สุขช่วย, กฤติน ขันละ และปริญา ปริพุฒ. (2566). “ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่าง TPACK+CLIL+CBL+PBL ตามภูมิปัญญา “ยลยินถิ่นเทียนธรรม งามล้ำวัฒนธรรมวิถี 231 ปี อุบลราชธานี ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม” ในการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 3 “เขตต์โขงนครา ภูมิธรรม ภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนานวัตกรรม เเละเศรษฐกิจ BCG” วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม. 83-91.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปริญา ปริพุฒ, รัตนะ ปัญญาภา, จันทร์รุ่ง สัณฑมาศ, ประภัสสร ผลสินธ์, พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ และศิริวรรณ จันทร์แจ้ง. (2567). ความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารครุทรรศน์, 4(1), 76-87.
ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พาสนา จุลรัตน์. (2564). จิตวิทยาการรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาศลักษณ์ ชัววัลลี. (2543). อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตน. (ออนไลน์) (เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2567). จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/download/6065/5698/19367
De Rossi, M., & Trevisan, O. (2018). Technological pedagogical content knowledge in the literature: how TPCK is defined and implemented in initial teacher education. Italian Journal of Educational Technology, 26(1), 7-23. Doi: 10.17471/2499-4324/988
Koehler, M. & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)?. Contemporary issues in technology and teacher education, 9(1), 60-70.
Papanastasiou, E. C., & Angeli, C. (2018). Evaluatiog the Use of ICT in Education: Psychometric Properties of the Survey of Factors Affecting Teachers Teaching with Technology (SFA-T3). Educational Technology & Society, 11(1), 69-89.