ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

กฤษฏิมินทร์ มณีฉาย

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาและ (2) เพื่อเปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาจำนวน 217คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเทียบตารางสำเร็จรูป เครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าค่าความเชื่อมั่นโดยภาพรวม เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มโรงเรียนอุบลรัตน์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามสถานภาพของตำแหน่งและระดับการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ศรีวิลัย. (2561). การประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

กระทรวงศึกษาการ. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

เจษฎา นกน้อย. (2552).นานาทรรศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล หวังพานิช. (2565). เอกสารประกอบการสอนวิธีการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ฐิติ เรืองฤทธิ์. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาริฉัตต์ศังขะนันทน์. (2547). องค์กรอัจฉริยะ: องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, 9(2), 105-116.

พริ้มเพรา วราพันธุ์พิพิธ. (2556). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนาภรณ์ บุญกองชาติ. (2557). สภาพและแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนคลองบางแก้ว (ภิรมย์ประชาราษฎร์) จังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราตรี พาลาด. (2560).ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ละมัย สายแก้ว. (2558). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 21. งานนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2551). Learn how to learn: ให้ความรักก่อนให้ความรู้. กรุงเทพฯ: อริชน.

วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้: ฉบับปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริก หวาน กราฟฟิค.

สุทญา อร่ามรัตน์. (2562). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 . งานนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Hoy, W. K. ,Miskel.C.G. (2001). Educational Administration:Theory, Research and Practice.(6th ed.) McGraw-hill International Edition.

Likert, Rensis. (1967). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.