บทความวิชาการ การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนและปรับพฤติกรรมผู้เรียน

Main Article Content

ไหมไทย ไชยพันธุ์
ฆอซานะห์ อาแว

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้ เพราะการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จะเป็นแนวทางให้ผู้สอนได้เข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่นำไปสู่การเชื่อมโยงและนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมหรือจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำเป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมในด้านการปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยทฤษฎีนี้มีแนวความคิดที่ว่าพฤติกรรมของบุคคลจะแปรเปลี่ยนไปตามผลกรรมที่ ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งการเสริมแรงเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างไรก็ตามตัวเสริมแรงที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน และผู้สอนควรงดให้การเสริมแรงเมือนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ มาเป็นแนวทางในการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและปรับพฤติกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วยประวัติ การทดลอง แนวคิด ประเภทของการเสริมแรง ชนิดของการเสริมแรง หลักการเสริมแรง กำหนดการเสริมแรง ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทําและการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการปรับพฤติกรรม ซึ่งผู้สอนผู้สอน นักการศึกษา หรือผู้ที่สนใจสามารถนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ด้วยการให้การเสริมแรงผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2563). จิตวิทยาการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ณัฐนันท์ ศิริพันธ์โนนและปนัดดา ญวนกระโทก. (2562). ผลการชี้แนะด้วยภาพร่วมกับเบี้ยอรรถกรที่มีต่อพฤติกรรมใส่ใจต่อการเรียนของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับประถมศึกษา โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 13(2),

-93.

เติมศักดิ์ คทวนิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ปองพล ประโมทยกุลและสุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2563). การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติกโดยใช้การเสริมแรงแบบเบี้ยอรรถกร. Lawarath Social E-Journal, 2(1), 77-86.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2553). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สิริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับผู้สอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วรรณี ลิมอักษร. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

วิชนี ศรีโชติและเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาจีนและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการจําและการเสริมแรง สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Graduate School, 17(76), 98-103.

ศรีประภา ศรีหางวงษ์. (2562). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีด้วยเบี้ยอรรถกรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(1), 53-65.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2565). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนิสา วงศ์อารีย์. (2559). จิตวิทยาสำหรับครู. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2557). จิตวิทยา: แนวคิดทฤษฎีการศึกษาปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 21-33.

อริยา คูหา. (2552). จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Muh Furqanullah Ahmad. (2018). Penerapan teori belajar operant conditioning melalui Pemanfaatan bahan ajar modul akidah akhlak untuk meningkatkan hasil belajar siswa kelas x mia man 1MAKASSAR. Fakultas tarbiyah dan keguruanuin ALAUDDIN MAKASSAR. (Online) (Retired on August 18, 2020) form http://repositori.uin-alauddin.ac.id/8441/1/Muh%20Furqanullah%20Ahmad.pdf

Vina Ganda Puspita. (2013). Pengaruh penerapan teori operant conditioning Terhadap Motivasi dan prestasi belajar bahasa jepang. UNIVERSITAS NEGERI SEMARANG. (Online) (Retired on August 18, 2020) form http://lib.unnes.ac.id/18613/1/2302909019.pdf