การสร้างระบบการสอนปฏิบัติกลองชุดด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก: ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชี้นำ

Main Article Content

กำพร ประชุมวรรณ
ธีรวุฒิ มูลเมืองแสน
สุวัตน์ ดวงรัตน์

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนปฏิบัติกลองชุด เป็นการสอนเครื่องมือปฏิบัติทางดนตรีที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการสอนอยู่หลายพื้นที่เชิงรุก คือ รูปแบบสำคัญที่มีส่วนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง บทความวิชาการนี้ สร้างจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา      มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพร้อมกับนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการสอนปฏิบัติกลองชุดประเด็นสำคัญ บทความนี้ประกอบด้วย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ การสอนแบบรู้เชิงรุกและผู้ชี้นำ ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้สอน ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้เรียน การเรียนการสอนปฏิบัติกลองชุดที่เป็นศาสตร์ทางการปฏิบัติทักษะเฉพาะ ประกอบด้วย 1)แนวคิด และองค์ประกอบหลักของผู้สอน และ 2)เนื้อหา และองค์ประกอบหลักของบทเรียน  การสอนแบบรู้เชิงรุก คือ รูปแบบและวิธีการของแนวทางการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกระบวนการเรียนรู้ โดยมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย การวัดผลและประเมินความก้าวหน้า และกิจกรรมการเรียนปฏิบัติกลองชุดเชิงรุก  ผู้ชี้นำที่จะส่งเสริมใหเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และวิจารณญาณ ประกอบด้วย ลักษณะและบทบาทของผู้ชี้นำ และ อุปสรรค์ของผู้ชี้นำ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

พงษ์ชัย คงเจริญสุข. (2566). แนวทางการสอนกลองชุดสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการสอนดนตรี, 22(1), 45-58.

หทัยภัทร ศุภคุณ. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบการฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์). หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Bobbe, T., Williams, D. A., Miksza, P., & Brennan, M. (2021). Toward a meaningful technology for instrumental music education: Teachers' voice. Frontiers in Psychology, 12, 1-15.

Freeman, S., et al. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering, and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences, 111(23), 8410-8415

Michael, J. (2006). "Where's the evidence that active learning works?" Advances in Physiology Education, 30(4), 159-167.

Prince, M. (2004). "Does Active Learning Work? A Review of the Research." Journal of Engineering Education, 93(3), 223-231.

Smith, R. D., & Davis, S. M. (2022). Pedagogical approaches for contemporary drum kit education: A systematic review. Journal of Music, Technology & Education, 15(2), 213-232.