การพัฒนาวงดนตรีสู่ระดับชาติและนานาชาติ: URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอการพัฒนาสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างวงดนตรีสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในครั้งนี้ คือจุดเริ่มต้นของหลายสิ่ง หลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน มีกระบวนการการวางแผนการดำเนินงาน การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมวง URU Band การเลือกบทเพลง กระบวนการฝึกซ้อมและการปรับวง สู่การได้เข้าร่วมแสดงในงาน “เทศกาลดนตรีนานาชาติ” วันที่ 29 – 31 กรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มากกว่าการได้แสดงทักษะด้านดนตรีและความเป็นเอกลักษณ์ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในเวทีระดับชาติและนานาชาติ คือ การได้เชื่อมสัมพันธ์กับพี่น้องดนตรีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมแสดง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านดนตรีและประสบการณ์ ทำให้นักศึกษาและหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้พัฒนาทุกอย่างไปพร้อม ๆ กัน นักศึกษามีสมรรถนะหลักที่ 3 สามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้ดนตรีควบคู่กับชุมชนและมีทักษะทางดนตรีที่พัฒนา มีสมรรถนะรองที่ 3 มีทักษะทางดนตรีในระดับพัฒนาและมีสมรรถนะรองที่ 4 สามารถควบคุมวงดนตรีในแต่ละประเภทได้ ซึ่งเกิดจากการได้แสดงดนตรีในหนึ่งครั้งนี้ สามารถทำให้ปรับปรุงและพัฒนาสู่เวทีระดับต่อ ๆ ไป อย่างต่อเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ได้ให้การสนับสนุนทุก ๆ อย่าง เพื่อให้โอกาสกับนักศึกษาในครั้งนี้ การพัฒนาวงดนตรีสู่ระดับชาติและนานาชาตินั้นจะมีองค์ประกอบในการสร้างและกระบวนการจากพื้นฐานสู่ระดับสากล ประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงาน, รูปแบบของวงที่จะทำการแสดง, การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมวง URU Band, การเลือกบทเพลง และกระบวนการฝึกซ้อมและการปรับวง
Article Details
References
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2680). เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก 13 ตุลาคม 2561.
สงัด ภูเขาทอง.(2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สาขาวิชาดนตรีศึกษา. (2563). ม.ค.อ. 2 หลักสูตรดนตรีศึกษา 4 ปี. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.