ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืดที่มีต่อความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืดที่มีต่อความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 14 คน ประกอบด้วย นักเรียนชาย จำนวน 3 คน นักเรียนหญิงจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืด 2) แบบทดสอบความอ่อนตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.09 เซนติเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.40 เซนติเมตร และหลังการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.03 เซนติเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.80 เซนติเมตร และ 2) ค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัว หลังการทดลองของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษาอายุ 7–12 ปี. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2567). จาก https://sportsci.dpe.go.th/upload/ebook/20.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566–2570). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2567). จากhttps://ratchakitcha.soc.go.th/documents/ 140D075S0000000002700.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). Stretching การยืดเหยียดกล้ามเนื้อนั้นสำคัญไฉน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2567). จาก https://si.mahidol.ac.th/sirirajdoctor/article_detail.aspx?ID=1532
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). ชวนสร้างสุขภาพที่ดีด้วย“ยางยืด”. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2567). จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=264719
Afroundeh, R., Irani, M., Moghaddami, P., & Bahram, M. E. (2021). The effects of static and dynamic stretching exercises’ order on some physical fitness factors in elementary school children. International Journal of Pediatrics, 9(9), 14435-14445.
Becerra-Fernández, C. A., Merino-Marban, R., & Mayorga-Vega, D. (2016). Effect of a physical education-based dynamic stretching program on hamstring extensibility in female high-school students. Kinesiology, 48(2.), 258-266.
Fang, Q., Zhang, X., Xia, Y., & Huang, F. (2023). Integrating elastic band into physical education classes to enhance strength training. Frontiers in Psychology, 14, 1037736.
Kazemi, N., Keshavarzi, F., Ahmadi, M., Hosseini, S. A., & Molaie, A. (2021). The effect of eight weeks of rope and elastic trainings on physical fitness of student children. Journal of Pediatric Nursing, 7(2), 1-10.
Lykesas, G., Giossos, I., Chatzopoulos, D., Koutsouba, M., Douka, S., & Nikolaki, E. (2020). Effects of several warm-up protocols (static, dynamic, no stretching, greek traditional dance) on motor skill performance in primary school students. International Electronic Journal of Elementary Education, 12(5), 481-487.