การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ในจังหวัดบุรีรัมย์
การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม, ผู้สูงอายุ, บูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ
แบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 วิจัย
เชิงคุณภาพ เพื่อสร้างและยืนยันตัวแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์โดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 399 คน และผู้เชี่ยวชาญ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินยืนยันตัวแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1) สุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยเหมาะสม ปัจจัยระบบบริการสาธารณสุขเชิงรุก ปัจจัยความตระหนักในรู้เรื่องสุขภาพ ปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ปัจจัยการส่งเสริมจากองค์กรภาครัฐ และปัจจัยความช่วยเหลือจากชุมชน 2) ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์
ที่เหมาะสม คือ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยเหมาะสม ส่งเสริมระบบบริการสาธารณสุขเชิงรุก ส่งเสริมความตระหนักรู้ในเรื่องสุขภาพ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ การส่งเสริมจากองค์กรภาครัฐ ส่งเสริมความช่วยเหลือจากชุมชน ส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุและส่งเสริมการสนับสนุนจากครอบครัว และผลการประเมินและยืนยันตัวแบบการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุแบบบูรณาการในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
เกศสิรี ปั้นธุระ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตที่มีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ทวีชัย เชสูงเนิน. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบำเหน็จ บำนาญ และผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สุวีริยสาส์น.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี, ทรงศรี สรณสถาภร, มาลี สุรเชษฐ และศรีนวล สถิตวิทยานันท์. (2555). กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการอยู่ตามลำพังของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2558. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง สถานการณ์การบริการทางการแพทย์ในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552).
แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้สูงอายุ
อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2560). โครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2559. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.
สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจินต์ ปรีชาสามารถ. (2555). สุขภาพจิต. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญานะ และสายศิริ ด่านวัฒนะ. (2552).
การดูแลผู้สูงวัยในชุมชน: ระบบหลักการ และแนวทางปฏิบัติ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.
อรวรรณ์ คูหา และนันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์. (2552). โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพในชุมชน. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publication.
Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 24(1), 192-193.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, In Reading in Fishbeic, M. (Ed.). Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.
(3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร