บทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ อย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

บทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ อย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วลัยพร สุขปลั่ง คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ศุภกัญญา เกษมสุข คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อัญญานี อดทน คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

บทบาทภาครัฐ, การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอ     น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ           ที่ควรพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้         ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก            สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 10 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและโปรแกรมสำเร็จรูป

        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 บทบาท ประกอบด้วย 1) การประชาสัมพันธ์               2) การจัดสรรการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะ 3) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 5) การวางแผน                   ส่วนแนวทางในการพัฒนาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่น้ำตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีนั้น พบว่ามีแนวทางการพัฒนาบทบาทเพิ่มขึ้น 2 บทบาท ประกอบด้วย บทบาทด้านการบริการ และบทบาทด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

Author Biography

วลัยพร สุขปลั่ง, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Faculty of Business Administration and Management, Ubonratchathani Rajabhat University *Corresponding author e-mail: walaiporn.s@ubru.ac.th (Received: January 28, 2019; Revised: February 25, 2019; Accepted: March 5, 2019)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560 จาก https://www.mots.go. th/more_news.php?cid=438&filename=index.
คมลักษณ์ สงทิพย์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา ตลาดน้ำวัดตะเคียน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ และหควณ ชูเพ็ญ. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: วิเคราะห์กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 467-478.
รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ และรัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2557). ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสังคมศาสตร์, 10(2), 127-149.
รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์, สุวรรณี ตรีวัฒนาวงศ์ และอัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง บทบาทขององค์กรภาครัฐหลักที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนบนพื้นที่เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด.. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี. (2559). สัมภาษณ์. 28 พฤศจิกายน 2559.
สุถี เจริญศรี. (2558). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Fennell, D. A. (1999). Ecotourism and Introduction. London: Routledge.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01