พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักกีฬา ที่เข้าร่วมงานกีฬามหาวิทยาลัย: ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์

พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนกักีฬา ที่เข้าร่วมงานกีฬามหาวิทยาลัย: ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์

ผู้แต่ง

  • ธรรมรักษ์ ละอองนวล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • หทัยรัตน์ ควรรู้ดี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อำไพ ยงกุลวณิช คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน, นักกีฬา, กีฬามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักกีฬาที่เข้าร่วมงานกีฬามหาวิทยาลัย: ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์  โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จำนวน 385 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 58.7 อายุระหว่าง 18 – 20 ปี จำนวน 276 คน คิดเป็น
ร้อยละ 71.7 กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 3 จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 34.8 รายได้ต่อเดือนระหว่าง 9,001 – 10,000 บาท จำนวน 123 คน คิดเป็น
ร้อยละ 37.9 การสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน 5 ด้าน ของนักกีฬาที่เข้าร่วมงานกีฬามหาวิทยาลัย: ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์ ภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง (  = 2.60) โดยแยกเป็นรายด้านการใช้จ่ายที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการใช้จ่ายเงินตามความต้องการทางสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.02) โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าซื้อของฝาก/ของ
ที่ระลึกในระดับมาก (  = 3.83) 2) ด้านการจ่ายเงินตามความต้องการพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 2.96) โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าอาหารอยู่ในระดับมาก (  = 3.94) 3) ด้านการใช้จ่ายเงินตามแบบบริโภคนิยม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 2.58) โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการสื่อสารอยู่ในระดับมาก (  = 3.57) 4) ด้านการใช้จ่ายตามความต้องการด้านนันทนาการ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (  = 2.35) โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.08) และ 5) ด้านการใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ในการแข่งขันกีฬา ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (  = 2.07) โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าชุดกีฬาอยู่ในระดับปานกลาง (  = 2.55)   

References

กนกรัตน์ เอี่ยมอรุณวรรณ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ จ่ายและการใชเ้วลาของนักศึกษาระดบัปรญิญาตรี กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วิทยานิพนธบ์ริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ทรายทอง เลิศเปียง. (2557). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนล าปาง พาณิชยการและเทคโนโลยี. วารสารวิชาการเครือข่ายบณัฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(6), มกราคม-มิถุนายน 2557, 15-26.
นฐนัธย์ ใยบัว. (2556). รายงานการวิจยัเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการใช้ จ่ายเงินของนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยมืเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
ปรางพรรณ วรรณกูล. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ฟุ่มเฟือยของวัยรุ่นในจังหวัดล าปาง. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561 จาก https://repository.rmutl.ac.th/handle/123456789/289.
พัชรี สารวิโรจน์. (2553). พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษากองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่. วิทยานพินธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลยั สงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยราชภฏัอุบลราชธานี. (2562). เอกสารประกอบการประชมุการ เตรียมการจัดงานกีฬามหาวิทยาลยัครั้งที่ 46 ราชภฏัอุบลราชธานี เกมส์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลยัราชภัฏอุบลราชธานี.
มาร์เก็ตอุ๊ปส์. (2560). เปิดมุมมองพฤตกิรรมทางการเงินของคนไทย: ออมไม่พอ ใช้จ่ายไม่จำเป็น ออมผิดที่. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561 จาก https://www.marketingoops.com/reports/ behaviors/customer-insights-by-tmb-analytics/.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกจิและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบบัที่สบิสอง พ.ศ. 25602564. กรุงเทพฯ: ส านกังานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). บทสรปุผู้บริหาร การสา รวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561 จาก https://www.nso.go.th/.
สุวงษ์ พิมพิสณฑ์. (2547). พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษาที่กู้ยมืเงิน จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในจังหวัดเลย: กรณีศึกษา นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตอ าเภอเมืองจังหวัดเลย ประจ าปี 2544. วิทยานพินธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
เหมวลา เชิดชูพันธ์เสรี. (2559). แบบแผนการวิเคราะห์ค่าใช้จา่ยจากความ ต้องการถือเงินของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชน. Verdian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2559, 597-609.
อภิยุทธ นวอัจฉริยะกิจ. (2557). พฤติกรรมการใช้จา่ยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพที่อาศัยหอพักในเขตพื้นที่ เทศบาลตา บล หนองป่าครั่ง อ าเภอเมืองเชยีงใหม ่จังหวัดเชยีงใหม่. การค้นคว้า แบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลยัเชียงใหม่.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30