การศึกษาการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อพัฒนา ระบบสารสนเทศสนบัสนนุเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

A Study of the Marketing and Distribution Channel for the Development of Information System to Support the Farmer Network that Raises the Goats in the Northeastern Region

ผู้แต่ง

  • พัฒนศักดิ์ ปทุมวัณ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สราญ ปริสุทธิกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พิมุกต์ สมชอบ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ขนิษฐา คนกล้า คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • นัทธพงศ์ นันทสำเริง คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ก้องเกียรติ สหายรักษ์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เกรียงศักดิ์ รักภักดี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การตลาด, ช่องทางการจัดจำหน่าย, ระบบสารสนเทศ, เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ได้ข้อมูลการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายแพะ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการสร้างตลาดและช่องทางการจำหน่ายแพะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อให้ได้เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงและจำหน่ายแพะจากระบบสารสนเทศสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ และอำนาจเจริญ โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง  210 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และระบบวิเคราะห์ต้นแบบระบบสารสนเทศ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการตลาด มี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ตลาดชุมชน ตลาดแพะมีชีวิต ตลาดแพะพ่อแม่พันธุ์ และ ตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อและน้ำนมแพะ ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแพะของเกษตรกร มี 6 ช่องทาง ประกอบด้วย การจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน การจำหน่ายให้กับชาวบ้านทั่วไป การจำหน่ายให้ชาวมุสลิม การจำหน่ายให้กับกลุ่มหรือเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ การ จำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะที่รับซื้อเพื่อรวบรวมแพะขายให้กับพ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นรายใหญ่ และการจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นรายย่อย

2) ด้านระบบสารสนเทศสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถสนับสนุนเกษตรกรในการสร้างความน่าเชื่อถือและขยายตลาดพ่อแม่พันธุ์แพะ 3) ด้านเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะที่เกิดขึ้นจากระบบ ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของเกษตรกรในระบบสารสนเทศฯ กับ

References

กรรณิการ์ สุขเกษม และ สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2544). นานานวัตกรรมวิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพ :
บริษัท เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด.
ประกายรัตน์ สุวรรณ. (2549). การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมเกียรติ สายธนู. (2528). การเลี้ยงแพะ. โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงแพะและแกะในภาคใต้. ภาควิชา
สัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธ์. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื่องฟ้า
พริ้นติ้ง.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2544). สถิติพื้นฐานที่เป็นอนุกรมเวลา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
2555 จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat/basestat.html.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). การศึกษาการตลาดแพะเนื้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10
กุมภาพันธ์ 2559 จากhttp://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/download/
article/article_20141027141431.pdf.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row
Publications.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30