การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

: การสื่อสารอัตลักษณ์ การท่องเที่ยว ชุมชน, การท่องเที่ยว, ชุมชน

บทคัดย่อ

“การสื่อสารอัตลักษณ์” คือ การเลือกสรรและสื่อสารความโดดเด่น เป็นหนึ่งเดียว และเป็นตัวตนของตัวองค์กรหรือชุมชนที่แตกต่างจากที่อื่น การสื่อสารอัตลักษณ์จึงมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะในแง่ของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจสินค้า บริการ หรือองค์กรของตน ในมิติของชุมชนซึ่งถือเป็นการรวมกลุ่มคนเข้าด้วยกัน และมีสถานที่ตั้งที่เป็นหลักแหล่งชัดเจน ย่อมจะมีวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ได้คิดค้น สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ก่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งจะมีผลต่อการท่องเที่ยว โดยชุมชนสามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของตนเอง ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเลือกเนื้อหาหรือประเด็นที่เป็นความโดดเด่นไม่เหมือนใครภายในชุมชนออกไปเพื่อเร้าความสนใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมในชุมชนของตน ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการสื่อสารตราสัญลักษณ์ของชุมชนและการสื่อสารอัตลักษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง บทความวิชาการชิ้นนี้ จึงมุ่งชี้ให้เห็นความหมาย ความสำคัญของการรู้จักและเข้าใจในอัตลักษณ์ของชุมชนของตนเอง การเชื่อมโยงสู่การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชน และการวิเคราะห์อัตลักษณ์จากกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนของตนเอง

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2549). ใต้ฟากฟ้าแห่งการศึกษา สื่อบุคคลและเครือข่ายการสื่อสารภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
การท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวง. (2561). Sep 2018 สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย เดือนกันยายน ปี 2561 (ข้อมูลเบื้องต้น) (16 ต.ค. 2561). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid =498&
filename=index
________. (ม.ป.ป.) แหลมตะลุมพุก. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561, จาก https://
thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/1871
ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มผู้นำชุมชน ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช, 20 กันยายน 2561.
ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มผู้นำชุมชน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช, 24 กรกฎาคม 2561.
ชัยยุทธ์ ถาวรานุรักษ์. (2560). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เอ เอ เอ เซอร์วิส.
เทพกร ณ สงขลา. (2556). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน ในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2554). การนันทนาการ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ไพโรจน์ วิไลนุช. (2557). การบริหารการสื่อสารขององค์กร: การสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2556). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2561). การบริหารภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสินค้าและองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันทนา รัตนอำนวยศิริ. (2554). ลานสกาที่ว่า “อากาศดีที่สุดในประเทศไทย”. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/100141
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2560). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Molleda, J. & Jain, R. (2013). Identity, perceived authenticity, and reputation: A dynamic association in strategic communications in Carroll, C.E. (Ed.). The handbook of communication and corporate reputation. UK: Wiley & Sons, Inc.
Ratanakosol, K., Pathumcharoenwattana, W. & Kimpee, P. (2016). Learning process for creating community identity. Retrieved November, 14, 2018, from https://www.shs-conferences.org/articles/shsconf/pdf/2016/04/shsconf_erpa
2016_01067.pdf.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30