การเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับผ้าทอท้องถิ่น และเชื่อมโยงไปสู่ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ประไพพิศ เลียบสื่อตระกูล คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • หทัยรัตน์ ควรรู้ดี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ก้องเกียรติ สหายรักษ์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ, ผ้าทอท้องถิ่น, ผ้ากาบบัว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับผ้าทอท้องถิ่น และเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตผ้าไหมกาบบัว 2) เพื่อศึกษากระบวนผลิตและต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัว 3) เพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผ้าไหมกาบบัว 4) เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเอือดใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการผลิตผ้ากาบบัวของจังหวัดอุบลราชธานีสามารถผลิตได้ทั้งเส้นใยจากฝ้ายและเส้นใยจากไหม รูปแบบการทอผ้ากาบบัวแยกตามวิธีการทอ ได้แก่ การทอผ้าด้วยวิธีการมัดหมี่ การทอผ้าด้วยวิธีการขิด การทอผ้าด้วยวิธีการจก และการทอผ้าผสมไหมคำ 2) กระบวนการผลิตผ้ากาบบัวมีต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัวเฉลี่ยต่อผืน ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต มีต้นทุนเฉลี่ยผืนละ 2,707.52 บาท มีราคาขายผืนละ 1,800 บาท เมื่อคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนทำให้มีผลขาดทุน 907.52 บาท  3) การพัฒนาผ้าไหมกาบบัวให้เป็นผลิตภัณฑ์ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท คือ กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง เครื่องประดับผมเข็มกลัดติดเสื้อ และพวงกุญแจ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมกาบบัวประเภทเข็มกลัดติดเสื้อและเครื่องประดับผม เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด จึงได้ให้กลุ่มสตรีพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ออกจำหน่าย และ 4) ชุมชนบ้านเอือดใหญ่ มีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอีสานที่ให้สุภาพสตรีทอผ้า ทำให้ผู้หญิงในชุมชนมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับการทอผ้ากาบบัว ชุมชนมี
แหล่งท่องเที่ยวทาง ศาสนสถานหลายแห่ง การพัฒนาให้ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัว และส่วนงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันสร้างเส้นทางวัฒนธรรมของชุมชน และส่งเสริมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว

Author Biographies

ประไพพิศ เลียบสื่อตระกูล, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

หทัยรัตน์ ควรรู้ดี, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ก้องเกียรติ สหายรักษ์, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2556). ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 จาก https://www.tatreview.files.wordpress.com/2017/11/tat42017_46-51-tourism events.pdf.
กัญญา จันทนะชาติ และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้ามัดหมี่ กรณีศึกษา บ้านเชียงยืน ตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปวีณา ผาแสง ณัฏฐ์กร เงินวงศ์นัย และราชาวดี สุขภิรมย์. (2560). การศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
ผ้าทอเมืองน่าน กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเฮี้ย ตำบลศิลาแดง อำเภอปัว จังหวัดน่าน.
น่าน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.
ไพบูลย์ ผองวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2562). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
เยาวลักษณ์ เหล่าฤทธิ์ สิทธิศักดิ์ จำปาแดง และโฆสิต แพงสร้อย. (2558). เที่ยววัด: แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 2(57),
165-175.
ฤดี นิยมรัตน์ กฤษฎา สังขมณี และสมบูรณ์ สารสิทธ์. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตผ้าทอพื้นเมือง อำเภอบ้างดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 6-12.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี. (2552). อุบลราชธานี เมืองนักปราชญ์. อุบลราชธานี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี.
สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม. (2560). สารสนเทศผ้าไหมกาบบัว. สืบค้นเมื่อ
2 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.qsds.go.th/silkcotton/k_7.php.
หทัยรัตน์ เงินทอง. (2558). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 100-117.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Euro Monitor International. (2017). Apparel and Footwear in Thailand. Retrieved May 29, 2019 from https://www.euromonitor.com/apparel-and-footwear-in-thailand/report.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29