การวิเคราะห์องค์ประกอบของการตัดสินใจเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ตามทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด
คำสำคัญ:
ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด, การแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการตัดสินใจเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยตามทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้ารับการรักษาและบริการทางสุขภาพที่คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์ พบว่า องค์ประกอบของการตัดสินใจเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี = .01 p = .93 df = 1 GFI = 1 AGFI = 1 RMR = 0 Standardized Residual = .09 และ Q-Plot ชันกว่าเส้นทแยงมุม ซึ่งองค์ประกอบของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยจะให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ เป็นอันดับแรก (.88) รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (.72), ด้านราคา (.65) และส่วนที่ให้ความสำคัญลำดับสุดท้าย คือด้านการส่งเสริมการตลาด (.56)
References
ร้านนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(3), 119-132.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. นนทบุรี: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพจน์ เภตรากาศ และคณะ. (2552). การบูรณาการการแพทย์แผนไทย: ระบบยาไทยและยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
พชรมน พรหมศวร และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). สัดส่วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นลำดับแรก. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(พิเศษ), 236-239.
พรชัย ดีไพศาลสกุล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). การสร้างคุณภาพบริการที่มีผลต่อการตอบรับของผู้รับบริการและผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารธรรมศาสตร์, 33(1), 33-45.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2539). การแพทย์แผนไทยการแพทย์องค์รวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
รัตนภรณ์ แซ่ลี้. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 7(1), 94-104.
สมพิศ กองอังกาบ อโณทัย งามวิชัยกิจ และลัดดา วัจนะสาลิกากุล. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 295-304.
สิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Jump, N. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.). New York: McGraw Hill.
Jutrakul, P. (2561). เผยคนไทยใช้สมุนไพรและบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2563 จาก https://www.shorturl.asia/vTIz.
Lovelock, C. & Wirtz, J. (2011). Service Marketing: People, Technology, Strategy. (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร