การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการพัฒนาการตลาด 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจ ผู้ผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ดาริกา แสนพวง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ชัดชัย รัตนะพันธ์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จักเรศ เมตตะธำรงค์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

การตลาด 4.0, กลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้า, การพัฒนาตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนคร  โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจการผลิตสินค้าในจังหวัดสกลนครพบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นประกอบด้วย 1) การให้บริการส่วนบุคคล 2) ผลิตภัณฑ์ 3) ช่องทางการจัดจำหน่าย 4) การรักษาความเป็นส่วนตัว 5) การส่งเสริมการขาย และ 6) ราคา ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 โดยวิธีสกัดองค์ประกอบ และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธี Varimax  มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้  ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการส่วนบุคคลและผลการศึกษาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาด้านการตลาด 4.0 พบว่า ꭓ2 = 520.53 ค่า  ꭓ2/dƒ = 1.54 CFI = .90, NFI = .90, PNFI = .60, RFI = .95, TLI = .95, RNI = .91, NNFI = .90 ผ่านตามเกณฑ์พิจารณา แสดงว่ารูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Author Biographies

ดาริกา แสนพวง, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

ชัดชัย รัตนะพันธ์, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

จักเรศ เมตตะธำรงค์, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

References

กมลรัตน์ โยธานันต์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด
ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 30-43.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี จินตจุฑา อยู่ทอง และชวนศิริ ธรรมชาติ. (2559). อิทธิพลการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ มีต่อการรับรู้ตราสินค้า Maybelline ของกลุ่มเพศหญิง Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. นเรศวรวิจัย, 12(1), 1504-1514.
จักเรศ เมตตะธำรงค์ ดาริกา แสนพวง และชัดชัย รัตนพันธ์. (2563). การวิเคราะห์เส้นทางของการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของวิสาหกิจชุมชนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 343-363.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). การตลาด 4.0 สู่ยุคการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2558). Digital Marketing: Concept & Case Study อัพเดทเทรนด์การตลาดออนไลน์ 2015. กรุงเทพฯ: ไอซีดี พรีเมียร์.
ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์. วารสารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 88-102.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทพร ดำรงพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัลในประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 239-255.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). รายงานสรุปจำนวนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561 จาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php?report_id=17 http.
รัตตินันท์ ดวงดี. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ประกาศขายเช่าอสังหาริมทรัพย์มือสอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วงศ์ธีรา สุวรรณณิน และกิตตินาท นุ่นทอง. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้สถานการณ์การค้าตลาดอินโดจีน จังหวัดมุกดาหารของผู้ประกอบการร้านค้า หลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 178-189.
วรสิทธิ์ เจริญศิลป์ และธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2561). กระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(51), 145-169.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล ไกรฤกษ์ ปิ่นแล้ว และโชติรส กมลสวัสดิ์. (2550). หลักการตลาด. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุพัตรา คำแหง ศิวารัตน์ ณ ปทุม และปริญ ลักษิตามาศ. (2561). การตลาดสมัยใหม่ของผู้ประกอบการใหม่บนพื้นฐานประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี่, 12(29), 4-5.
เสรี วงษ์มณฑา และชุษณะ เตชคณา. (2553). การตลาด 4.0 ในบริบทประเทศไทย 4.0. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 8(15), 1-16.
อนุศักดิ์ รัตนกนกกาญจน์ และปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 44-63.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น
ผ่านสังคมออนไลน์ (เฟชบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). E-Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น.
Carmines, E. G. & McIver, J. P. (1981). Analyzing Models with Unobserved Variables: Analysis of Covariance Structures. In Bohrnstedt, G. W. & Borgatta E. F. (Ed.). Social Measurement: Current Issues. (65-115). Beverly Hills: Sage Publications.
Cronbach, L. J. (2003). Essential of Psychology Testing. New York: Hanpercollishes.
Diamantopoulos, A. & Siguaw, A. D. (2000). Introducing LISREL: A Guide for the Uninitiated. London: Sage Publications.
Hair, J. F. et al. (1995). Multivariate Data Analysis. (3rd ed.). New York: Macmillan.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. (2002). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. New Jersey: Prentice Hall.
Menard, S. (1995). Applied Logistic Regression Analysis: Sage University Series on Quantitative Applications in the Social Sciences. California: Sage.
Rietzen, J. (2007). What is Digital Marketing?. Retrieved Aprill 19, 2020 from http://www.mobilestorm.com/resouces/digital-marketing-blog/what-is-digital-marketing.
Salacka, D. (2017). What is Marketing 4.0. Retrieved January 29, 2017 from http://www.Medium.Com ›what is marketing.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29