การศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บุษยมาส ชื่นเย็น คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

มหาวิทยาลัยสีเขียว, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่มีผลต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และ 3) อิทธิพลของการมี ส่วนร่วมของนักศึกษาที่มีผลต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมกันรับผิดชอบมากที่สุด รองลงมา คือการร่วมปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารน้อยที่สุด 2) นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การร่วมปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม การร่วมกันรับผิดชอบ การรับรู้ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแตกต่างกัน ส่วนคณะที่ศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การร่วมปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม การร่วมกันรับผิดชอบ การรับรู้ และทัศนคติ แตกต่างกัน และ 3) การมีส่วนร่วมของนักศึกษา มี 5 ด้านได้แก่ การร่วมปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม การร่วมกันรับผิดชอบ การรับรู้ ทัศนคติและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ที่มีผลต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้ร้อยละ 75.20

Author Biography

บุษยมาส ชื่นเย็น , คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักเรศ เมตตะธำรงค์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนครต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์. 18(2),
7-17.
ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2560). กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัย
สีเขียว. วารสารการบริหารปกครอง, 6(2), 231-256.
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2558). การประยุกต์กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(1), 80-97.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิเทศ สนั่นนารี และประสารโชค ธุวะนุติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลตอรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง.
วารสารการบริหารปกครอง, 5(1), 97-120.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมพงษ์ เกศานุช และคณะ. (2563). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2563). สถิตินักศึกษา. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563 จาก http://www.apr.ubru.ac.th/images/stories/documents/sti/262-01-030263.pdf.
สิรินาฏ ไชยตา. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา.
Aiken, L. S. et al. (2003). Applied Multiple Regression/Correlation Analysis for The Behavioral Sciences. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.
Geng, Y. et al. (2013). Creating a Green University in China: A Case of Shenyang University. Journal of Cleaner Production, 61, 13-19.
Panjaitan, T. W. S. & Sutapa, I. N. (2010). Analysis of Green Product Knowledge, Green Behavior and Green Consumers of Indonesian Students Case Study for Universities in Surabaya. 2010 IEEE International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management, 2268-2272.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Yuan, X. et al. (2013). Green Universities in China-What Matters. Journal of Cleaner Production, 61(2013), 36-45.
Zhao, W. & Zou, Y. (2015). Green University Initiatives in China: A Case of Tsinghua University. International Journal of Sustainability in Higher Education, 16(4), 491-506.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29