การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจของจังหวัดระยองที่เกิดจากการใช้จ่าย ของพนักงานบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ, การใช้จ่ายพนักงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง ที่เกิดจากการใช้จ่ายของพนักงานของบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนกำหนดนโยบายพัฒนาจังหวัด และรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้านรายจ่ายจำแนกตามประเภทการใช้จ่ายจากพนักงานของบริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ราย ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2562 โดยเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณค่าสถิติ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้จ่ายของประชากรโดยนำมาคำนวณผ่านค่าตัวคูณทวี
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีรายจ่ายต่อเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 53,753 บาท โดยมีประเภทการใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยเท่ากับ 19,324.20 บาท รองลงมา ได้แก่ ที่พักอาศัย สาธารณูปโภคเฉลี่ยเท่ากับ 15,292.73 บาท พักผ่อนหย่อนใจการท่องเที่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 4,918.40 บาท การศึกษาของบุตรหลานการฝึกอบรมเฉลี่ยเท่ากับ 3,768.09 บาท การเดินทาง ยานพาหนะเฉลี่ยเท่ากับ 3,327.31 บาท ของใช้ส่วนตัวเฉลี่ยเท่ากับ 2,332.88 บาท โทรศัพท์ มือถือ อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวีเฉลี่ยเท่ากับ 2,021.11 บาท เสื้อผ้าและอุปกรณ์การแต่งกายเฉลี่ยเท่ากับ 1,376.08 บาท รักษาพยาบาลเฉลี่ยเท่ากับ 720.29 บาท ตามลำดับ และน้อยที่สุด ได้แก่ บริการต่าง ๆ เฉลี่ยเท่ากับ 671.91 บาท และส่วนใหญ่เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 บาท จะมีการใช้จ่ายเฉลี่ย 596 บาท จะทำให้ค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค มีค่าเท่ากับ .596 หรือ .60 ทำให้เกิดค่าตัวคูณทวีเท่ากับ 2.50 ซึ่งเมื่อคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยผ่านค่าตัวคูณทวีการบริโภคจะได้เท่ากับ 7,974,257,550 บาทต่อปี เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่จะมีที่พักอาศัยอยู่ห่างจากบริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) ในรัศมี 5 กิโลเมตร การใช้จ่ายพนักงานจึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชุมชนและย่านตัวเมือง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเกษตรกรรมมาเป็นผู้ประกอบกิจการร้านค้าในชุมชน ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า บ้านเช่า อาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร และสถานบันเทิง เป็นต้น
References
กิตติศักดิ์ บุญกลิ่น. (2561). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา: กรณีศึกษาตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
ชาคร ประพรหม. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนาด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ อ.สะเดา จ.สงขลา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
โชติ ถาวร และคณะ. (2556). นโยบายการพัฒนา และผลกระทบต่อชุมชน อ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(4), 88-99.
นพดล วิยาภรณ์. (2562). การบริหารการพัฒนาโครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ศึกษากรณี: พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 95-109.
บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน). (2561). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561 จาก http://www.irpc.co.th/th/about.php.
บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน). (2561). ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561 จาก http://www.irpc.co.th/th/about_philo.php.
ภัทร์ธมนต์ คงแจ่ม และธนาวุธ แสงกาศนีย์. (2558). ผลจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่พักบูติกโฮเต็ลต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของชุมชน: กรณีศึกษาบูติกโฮเต็ลในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รวี หาญเผชิญ. (2554). ผลกระทบของการลงทุนภาครัฐเพื่อการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเมืองขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุกระวรรณ เศวตะพุกกะ. (2561). ตัวคูณทวีการท่องเที่ยวและผลกระทบต่อการกระจายรายได้: หลักฐาน
เชิงประจักษ์จากข้อมูลโรงแรมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุมิตรา สุขสำราญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายรายได้กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยรายภูมิภาค. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Keynes, J. M. (1936). The General Theory of Employment, Interest and Money. London: Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร