การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของประชาชนตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ ควรรู้ดี
  • มาลิณี ศรีไมตรี
  • อรวรรณ ตามสีวัน

คำสำคัญ:

การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล, ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อ
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 370 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองตัวแปร สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัย พบว่า การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการประเมินสถานะทางการเงินตามหลักความพอประมาณ
ด้านการกำหนดเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักความมีเหตุผล ด้านการติดตามและปรับปรุงแผน
การวางแผนทางการเงินตามหลักความรู้และคุณธรรม และด้านการปฏิบัติตามแผนการเงินตามหลักการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ตามลำดับ สำหรับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สมาชิกครอบครัว และอาชีพที่ต่างกันส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ด้านภาวะเงินเฟ้อ ด้านอัตราดอกเบี้ย และด้านรายได้-ค่าใช้จ่าย มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจัยทางเศรษฐกิจทุกตัวสามารถพยากรณ์การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 76.0

Author Biographies

หทัยรัตน์ ควรรู้ดี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

มาลิณี ศรีไมตรี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อรวรรณ ตามสีวัน

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

กิจติพร สิทธิพันธุ์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เกษมะณี การินทร์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมพร้อมสู่

วัยเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารสยามวิชาการ, 19(32), 37-53.

จารุณี จอมโคกสูง. (2555). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนิกานต์ ภูกัณหา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเงินของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐาปณี ไตรทอง. (2555). การวางแผนทางการเงินวัยเกษียณอายุของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนพร จันทร์สว่าง. (2561). ปัจจัยที่มีอีทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. การค้นคว้าหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนาคารแห่งประเทศไทย: ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน. (2564). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงิน

ของไทย ปี 2563 และการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความรู้ทางการเงินของ ธปท. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2564 จาก https:// www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/

n7764.aspx.

มรกต ฉายทองคำ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมเงินของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เมทาวี มีเกล็ด. (2562). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการออมภาคครัวเรือนของประเทศไทย.

การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สาริสา ฤทธิมาร. (2559). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไฮใหญ่. (2558). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนตำบล

คำไฮใหญ่. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2564 จาก http://www.khamhaiyai.go.th/index.php?_mod

=ZGl5&type=MQ.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.) New Jersey: Prentice hall Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30