การพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะนักบัญชี, ยุคดิจิทัล, ดิสรัปชั่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น และการพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์กร การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีตำแหน่งงานตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น และการพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น อยู่ในระดับมาก 2) นักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่นที่มีระดับการศึกษา และสถานภาพต่างกัน มีการพัฒนาสมรรถนะที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) องค์กร การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมรรถนะของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในกิจการนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กิรณา ยี่สุ่นแซม และคณะ. (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะและองค์ความรู้ด้านบัญชี
ของพนักงานสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
กุสุมา ดำพิทักษ์ และคณะ. (2556). นักบัญชี ที่องค์กรธุรกิจต้องการ “เก่ง + ดี”. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จาก http://www.ird.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=515.
ขวัญรัตน์ เป่ารัมย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่มีต่อการยอมรับของประชาชนในงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง. แมสโปรดักส์.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ประภัสสร กิตติมโนรม. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 79-94.
ปิยพงศ์ ประไพศรี และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีใน
ยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 421-435.
ยาใจ ธรรมพิทักษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานโรงแรมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2564). ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ มีความแตกต่างกันอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=5839.
วิภาพร ทิมบำรุง. (2558). สมรรถนะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่คาดหวังของผู้บริหารในสายงานบัญชีและ
การเงินในบริษัทมหาชน. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำราญ บุญเจริญ ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และปาลิดา เชษฐ์ขุนทด. (2559). รูปแบบสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(3), 117-136.
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี และโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษา
ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.
Evanschitzky et al. (2020). Digital Disruption in Retailing and Beyond. Journal of Service Management Research, 4(4), 187-204. Retrieved July 29, 2021, from https://www.nomos-elibrary.de/10.15358/2511-8676-2020-4-187/digital-disruption-in-retailing-and-beyond-volume-4-2020-issue-4?page=1.
Jones, G. Milligan, J. & Johnson, M. (2018). The Role of Self-Efficacy in the Antecedents
of Climbing Related Injury: a Critical Review. Retrieved June 8, 2021, from https://eprints.leedsbeckett.ac.uk/id/eprint/5201/1/TheRoleofSelf-EfficacyintheAntecedentsAM-JONES.pdf.
Kim, M. O. (2016). Study on Self-efficacy, Communication Competency, Critical Thinking Disposition and Clinical Performance Ability of Nursing Students. Journal of the Korea Academia-Industrial, 17(6), 609-617. Retrieved June 8, 2021, from https://www.koreascience.or.kr/article/JAKO201623562837944.pdf.
Noe, R. A. Hollenbeck, J. R. Gerhart, B. & Wright, P. M. (2017). Human Resource
Management: Gaining a Competitive Advantage. New York: McGraw-Hill Education.
Pacific Crest Group. (n.d.). How Technology is Disrupting Accounting and Finance. Retrieved July 20, 2021, from https://www.pcg-services.com/technology-disrupting-accounting-finance/.
Prevost, M. Johnston, K. A. & Tanner, M. C. (2018). Awareness and Preparedness of IT Managers to Digital Disruption: A South African Exploratory Case Study. The African Journal of Information Systems, 10(4), 279-294.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร