อิทธิพลเชิงโครงสร้างของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการสอบบัญชี และการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • แดน กุลรูป

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, กระบวนการสอบบัญชี, การใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ คุณภาพการสอบบัญชี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลเชิงโครงสร้างของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการสอบบัญชี และการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งผ่านระบบไปรษณีย์ ได้รับข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจำนวน 141 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

            ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อกระบวนการสอบบัญชีในขณะเดียวกัน กระบวนการสอบบัญชีมีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและคุณภาพ การสอบบัญชี นอกจากนี้ การใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพก็มีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อคุณภาพการสอบบัญชีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยนี้ไม่พบอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและคุณภาพการสอบบัญชี ดังนั้นจึงสามารถอธิบายได้ว่า คุณภาพการสอบบัญชีเป็นปัจจัยที่จะได้รับอิทธิพลทางบวกจากกระบวนการสอบบัญชีและการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ โดยที่กระบวนการสอบบัญชีเป็นปัจจัยที่ได้รับอิทธิพลทางบวกจากความสามารถหรือสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอบบัญชี

Author Biography

แดน กุลรูป

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

ชุตินุช อินทรประสิทธิ์. (2561). การสอบบัญชีในยุค Big Data. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(103), 189-202.

เตือนใจ ภักดีล้น และวันชัย ประเสริฐศรี. (2561). ความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีต่อความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมในการตรวจสอบบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. RMUTT Global Business and Economics Review, 12(1), 205-218.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์ สุธนา บุญเหลือ และศุภรักษ์ จันทร์จรัสจิตต์. (2562). ตัวแปรที่มาก่อนสมรรถนะในการบูรณาการการสอบทานการสอบบัญชีและความเป็นเลิศในการสอบบัญชี: การตรวจสอบเชิงประจักษ์. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2), 57-70.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบที่มีต่อผลการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารราชพฤกษ, 16(2), 130-139.

ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15.

เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2563). ทักษะการตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานที่มีลักษณะเฉพาะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฏิบัติตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 (TSQC1). วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 202-215.

ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ. (2561). ลักษณะของการรายงานเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ: ดุลยพินิจในการเขียนเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีในกลุ่มสำนักงานบัญชี BIG 4. วารสารสุทปริทัศน์,

(104), 210-222.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564) ข้อมูลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (เฉพาะท่านที่ประสงค์เปิดเผยข้อมูลเพื่อการติดต่อ). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://eservice.tfac.or.th/

fap_registration/cpa-contact-list?condition=4&district_ hidden=&province_hidden=

&geography_hidden.

สวัสดิ์ หากิน และวรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2561). โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระตามความเป็นจริงกับการสังเกตและสงสัย เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและการรายงานอย่างมีจริยธรรม: การศึกษาเชิงประจักษ์จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 25-41.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2564). ประเด็นจากการตรวจ IT. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.sec.or.th/TH/Documents/Auditordoc/

audit_itgc_250759.pdf.

สุนทรี สุนทรโชติ และศศิวิมล มีอำพล. (2563). การเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้ ISO 26000 ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 17-37.

Aaker, D. A. Kumar,V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. (7th ed.). New York: John Wiley and Sons.

Abdul, G. & Abdul, F. (2013). Audit Practice in Global Perspective: Present and Future Challenges. Research Journal of Finance and Accounting, 4(6), 1-5.

Agoglia, C. P. Hatfield, R. C. & Brazel, J. F. (2009). The Effects of Audit Review Format on Review Team Judgments. Auditing: a Journal of Practice & theory, 28(1), 95-111.

Becker, C. L. et al., (1998). The Effect of Audit Quality on Earnings Management. Contemporary Accounting Research, 15(1), 1-24.

Betti, N. & Sarens, G. (2020). Understanding the Internal Audit Function in a Digitalised Business Environment. Journal of Accounting & Organizational Change, 17(2), 197-216.

Byrne, B. M. (1998). Structural Equation Modeling with LISREL, PRELIS, and SIMPLIS: Basic Concepts, Applications, and Programming. New York: Psychology Press.

Cassell, C. et al. (2019). A Hidden Risk of Auditor Industry Specialization: Evidence from the Financial Crisis. Review of Accounting Studies, 24(3), 891-926.

Cronbach, L. J. (2003). Essential of Psychology Testing. New York: Hanpercollishes.

DeAngelo, L. E. (1981). Auditor Size and Audit Quality. Journal of accounting economics, 3(3), 183-199.

Duff, A. (2009). Measuring Audit Quality in an Era of Change: An Empirical Investigation of UK Audit Market Stakeholders in 2002 and 2005. Managerial Auditing Journal, 24(5),

-422.

Fletcher, G. & Griffiths, M. (2020). Digital Transformation During a Lockdown. International Journal of Information Management, 55, 1-4.

Francis, J. R. Maydew, E. L. & Sparks, C. H. (1999). The Role of Big 6 Auditors in the Credible Reporting of Accruals. Auditing: a Journal of Practice and Theory, 18(2), 17-34.

Hair J. F. et al. (2010). Multivariate data analysis: A Global Perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Knechel, R. W. (2000). Behavioral Research in Auditing and Its Impact on Audit Education. Issues in Accounting Education, 15(4), 695-712.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Low, K. Y. (2004). The Effects of Industry Specialization on Audit Risk Assessments and Audit-Planning Decisions. The Accounting Review, 79(1), 201-219.

Mutchler, J. F. & Williams, D. D. (1990). The Relationship Between Audit Technology, Client Risk Profiles, and the Going-Concern Opinion Decision. Auditing: a Journal of Practice and theory, 9(3), 39-54.

Palmer, K. N. Ziegenfuss, D. E. & Pinsker, R. E. (2004). International Knowledge, Skills, and Abilities of Auditors/Accountants: Evidence from Recent Competency Studies. Managerial Auditing Journal, 19(7), 889-896.

Phornlaphatrachakorn, K. (2020). Effects of Audit Specialization on Audit Planning, Audit Quality and Audit Performance: A Comparative Study of Certified Public Accountants and Tax Auditors in Thailand. Journal of Accounting Profession, 16(49), 23-49

Solomon, I. & Trotman, K. T. (2003). Experimental Judgment and Decision Research in Auditing : the First 25 Years of AOS. Accounting, Organizations and Society, 28(4), 395-412.

Zuca, S. (2015). Audit Evidence–Necessity to Qualify a Pertinent Opinion. Procedia Economics and Finance, 20, 700-704.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30