การบริหารจัดการเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการรับฝากและส่งต่อ ของฝ่ายปฏิบัติการ กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาโป่งน้ำร้อน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการกระบวนการ, การจัดการความสูญเปล่า, หลักการ ECRSบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสูญเปล่าในกระบวนการรับฝากและส่งต่อของ
ฝ่ายปฏิบัติการ 2) เพื่อบริหารจัดการกระบวนการโดยใช้หลักการ ECRS และ 3) เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการรับฝากและส่งต่อของฝ่ายปฏิบัติการ โดยมีประชากรของการวิจัยคือ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการจำนวน 8 คน จาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาโป่งน้ำร้อน ทำการศึกษาในกระบวนการการรับฝากและเตรียมการส่งต่อไปยังศูนย์ไปรษณีย์สำหรับลูกค้าประเภทแบบรายเดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นำแผนภูมิกระบวนการไหลมาแสดงขั้นตอนและทำการวิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงาน และใช้หลักการ ECRS ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดความสูญเปล่าในกระบวนการรับฝากและส่งต่อ ก่อนการปรับปรุงมีจำนวนทั้งหมด 12 กิจกรรม และหลังจากที่ทำการปรับปรุงกระบวนการใหม่แล้วสามารถลดขั้นตอนการทำงานเหลือเพียง 6 กิจกรรม โดยทำการตัดกิจกรรมการขนย้ายพัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ทำการรวมขั้นตอนการพิมพ์ใบอนุญาตและการคัดแยกที่สามารถทำด้วยกันได้ การเรียงขั้นตอนการทำงานใหม่โดยการคัดแยกสามารถทำหลังจากขั้นตอนการรับฝากพัสดุได้ทันที และการทำขั้นตอนให้ง่ายขึ้นโดยเปลี่ยนจากการพิมพ์ใบอนุญาตเป็นการประทับตราลงบนพัสดุ ก่อนการปรับปรุงใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 392 นาที หรือ 6 ชั่วโมง 32 นาที หลังการปรับปรุงกระบวนการทำงานใช้เวลาในการทำกิจกรรม 294 นาที หรือ 4 ชั่วโมง 54 นาที ซึ่งสามารถลดเวลาในการดำเนินกิจกรรมลงได้ 98 นาที คิดเป็นร้อยละ 25
References
กมลมาลย์ แจ้งล้อม และปุญญภพ ตันติปิฎก. (2563). TRANSPORT & LOGISTICS 2020: อีไอซีวิเคราะห์ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2020 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น
จากแรงกดดันด้านราคา. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จาก https://www.scbeic.com/th/ detail/file/product/6563/fjvy8kfdv8/EIC_Industry-review_parcel_20200120 .pdf.
กุสุมา ไชยโชติ. (2559). การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษา
ธุรกิจค้าปลีก. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จุฑาภรณ์ แก้วสุด. (2562). การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา: โรงงานผลิตถุงมือยาง จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชวลิต บุญเกิด และสมิหรา จิตตลดากร. (2562). การเปลี่ยนแปลงบทบาทบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 368-381.
ชานนท์ หวังดี. (2559). เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัท AA
อีคอมเมิร์ซ. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธันฐภัทร์ ราศรีมิล และบุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ. (2561). การเพิ่มผลิตภาพการทำงานของกระบวนการ
รับและคืนสินค้าทั่วไป กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16),
-26.
นภัสรพี ปัญญาธนวาณิช. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพดล ศรีพุทธา และบุญสิน นาดอนดู่. (2562). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการกลึงข้อต่อท่อโดยใช้
เทคนิค ECRS. ใน ภาสวรรธน์ วัชรดารงค์ศักดิ์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 (605-616). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ปานหทัย มหา และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาธุรกิจผลิตและจำหน่ายประตูไม้ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 47-69.
พรพิมล จันทสอน. (2561). การปรับปรุงและลดเวลากระบวนการสั่งซื้อสินค้าให้บริษัทในเครือ กรณีศึกษา: บริษัทค้าปลีกสินค้าภายในบ้าน. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภูริต ระจิตดำรงค์ และคณะ. (2563). หัวหน้าแผนกและพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาโป่งน้ำร้อน. สัมภาษณ์. 10 พฤศจิกายน 2563.
ลัดดาวัลย์ นันทจินดา. (2559). การประยุกต์ ECRS กับบริษัทขนส่งระบบ Milk run กรณีศึกษา: บริษัท ABC Transport จำกัด. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุฒิศักดิ์ กัลปดี วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล และวิสูตร ลู่โรจน์เรือง. (2556). การศึกษาปัญหาความล่าช้ามีผลต่อ
การจัดการประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ของที่ทำการไปรษณีย์ลูกข่าย
ศูนย์ไปรษณีย์ศรีราชา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 148-158.
สัญลักษณ์ บุญอินทร์ และศีขรินทร์ สุขโต. (2561). การเพิ่มผลิตภาพแรงงานในกิจกรรมคลังสินค้าโดย
เทคนิค ECRS และการจัดสมดุลงาน. ใน ระพีพันธ์ ปิตาคะโส (บรรณาธิการ), การประชุม
วิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ 23-26 กรกฎาคม 2561 (58-63). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี.
สุภรัตน์ พูลสวัสดิ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผนกเอกสารขาออก กรณีศึกษาสายเรือแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่แหลมฉบัง. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สร้อยเพ็ชร คงอิ่ม และอาทร จิตสุนทรชัยกุล. (2562). การปรับปรุงประสิทธิภาพการนำจ่ายไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรณีศึกษา ที่ทำการไปรษณีย์สาขาบางซื่อ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 7(2), 242-249.
อติกานต์ ม่วงเงิน. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน (ECRS+IT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร